วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา
            ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟูมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม ได้มีโรงเรียนสอนภาษาหลายๆภาษาที่มีภาษาอังกฤษร่วมขึ้นด้วย ในปัจจุบันนี้ได้มีการใช้การเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษล้วนดังนั้นจึงได้มี โปรแกรมอินเตอร์เกิดขึ้น และนับว่าในยุคปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษก็มีการใช้อย่างต่อเนื่องและเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาก้าวไกลเรื่อยๆจึงได้มีการสอนภาษาอังกฤษผ่านทาง วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ภาษาอีกด้วย แต่ว่าการเรียนภาษานั้นจะแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆคือ การเรียนภาษานั้นต้องเรียนควบคู่กันคือ ความรู้และทักษะ  ความรู้คือภาคทฤษฎี ส่วนทักษะนั้นคือภาคปฏิบัติหากเรียนแต่ภาคทฤษฏีแล้วภาคปฏิบัติก็ไม่ได้ฝึกนั้น การเรียนก็ย่อมไม่บรรลุผลตามเป้าหมายของภาษา แต่ทว่าหากจะให้บรรลุเป้าหมายตามคาดหวังก็คงเป็นไปไม่ค่อยได้เพราะ คุณมาตรฐานในเรื่องการเรียนการสอนนั้นยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
                กล่าวคือคุณภาพการเรียนการสอนภาษายังคงเป็นปัญหาคือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล นักเรียนนักศึกษาสมัยนี้จะดูอ่อนภาษาอังกฤษยิ่งกว่าในสมัยก่อนอีกทั้งที่น่าจะดูเก่งกว่าเนื่องจากในยุคสมัยนี้มีโอกาสได้พบเห็นมากกว่าในยุคสมัยก่อนดังนั้นจึงได้มีการหยิบยกปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาวิจารณ์ คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน โทษครูผู้สอน ว่าขาดความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษา โทษตำรา แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน เพราะมีข้อผิดพลาด บกพร่อง ไม่น่าสนใจ โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนว่าจัดสัดส่วนให้น้อยเกินไป  โทษนโยบายของรัฐ ว่าขาดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม ว่าไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง จริงอยู่การจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผล ย่อมมีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกันแต่เมื่อพิจารณาแล้วตัวผู้เรียนคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด
                เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ ผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการท้อแท้ และควรจะหันมามองหาข้อดีและใช้ประโยชน์จากปัจจัยเชิงบวกให้มากที่สุด แต่ในการพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิผลนั้นจำเป็นต้องดำเนินไปเป็นระบบเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ก็สมควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจนเมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้วก็ต้องรู้จักจัดเตรียม และเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อการรับชมข่าวสารต่างประเทศ ห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองในสถานศึกษา คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลาย การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านข่าว ฟังข่าว และฟังข่าวจากสำนักต่างประเทศ และค้นหาจากเว็บไซต์ซึ่งกลายเป็นฐานข้อมูลทางภาษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อรู้จักจัดเตรียม สื่อแหล่งข้อมูลพร้อมแล้ว ขั้นต่อไปก็จำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน และกลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา ฝึกฝน สังเกตจดจำ เลียนแบบ ดัดแปลงวิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน ปรับปรุง ซึ่งขยายความได้ดังนี้

Learning Log 2

Learning Log 2
11st  August , 2015

                การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคมนอกจากการศึกษาแล้วยังมีอย่างหนึ่งคือ การศึกษาก่อให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ เมื่อมีการเรียนรู้แล้วต่อไปคือกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
                การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต การเรียนรู้สามารถทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้าในเมื่อเราเกิดการเรียนรู้แล้วเราจะต้องรู้ด้วยว่าสิ่งที่เรารู้นั้นเรารู้จริงหรือไม่จริงซึ่งเราต้องมีการประเมินกำกับตนเองด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ Metacognition ทฤษฎีอภิปัญญาหรือการรู้คิด ซึ่งนั่นก็คือ อภิปัญญา(Metacognition) คือการควบคุมและประเมินความคิดตนเอง ความสามารถของบุคคลที่ได้รับการพัฒนา เพื่อควบคุมกำกับกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการคิด มีความตระหนักในงาน และสามารถใช้ยุทธวิธีทำงานจนสำเร็จอย่างสมบูรณ์ซึ่งเราจะต้องรู้จักการรู้คิด หมายถึง การตระหนักรู้และควบคุมกระบวนการรู้คิดของบุคคล คือรู้ว่า ตนกำลังอยู่ในกระบวนการคิดใด และสามารถควบคุมตนเองให้ทำตามนั้นได้ เช่น เรามักนั่งหลับในห้องเรียน (เรารู้ว่าเราเป็นเช่นนั้น) เวลาเข้าห้องเรียนจึงไปนั่งหน้าสุดทุกครั้ง (เพื่อจะได้ไม่หลับ) เป็นต้น ในเมื่อมีการรู้คิดแล้วมันก็ได้ไปสอดคล้องกับ self-directed learning ซึ่งนั่นก็คือการชี้นำตนเองได้นั่นเอง
                Self-directed learningการชี้นำตนเองได้ เป็นการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนรับผิดชอบในการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล ความก้าวหน้าของการเรียนของตนเอง เป็นลักษณะซึ่งผู้เรียนทุกคนมีอยู่ในขณะที่อยู่ในสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งได้ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีความรู้จริงหรือไม่แต่ถ้าหากเรายังรู้ไม่แน่ชัด หรือยังไม่แน่นอนเราต้องหาวิธีหาแนวทางให้กับตนเองที่จะทำให้ตัวเราเกิดการเรียนรู้นั่นก็คือ strategies กลยุทธ์ กลยุทธ์คืออะไร กลยุทธ์คือแนวทางในการดำเนินงานที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายในเมื่อมีกลยุทธ์ที่จะทำให้บรรลุเราจะต้องตั้งเป้าหมายไว้นั่นก็คือ goal สิ่งที่เราจะต้องไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวังหรือ จินตนาการ ในเมื่อมีการตั้งเป้าหมายแล้วขั้นตอนต่อไปคือการทำให้ถึงฝันโดยที่เราจะต้องทำให้เต็มที่เต็มศักยภาพนั่นก็คือ Full Potential ศักยภาพหมายถึง ความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของบุคคลนั้นถ้าหากบุคคลนั้นได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างเต็มที่การทำงานการเรียนรู้ก็จะเต็มไปด้วยศักยภาพแต่กว่าจะไปถึงขั้นบรรลุหรือขั้นที่เราต้องทำอย่างเต็มที่เราต้องมีเป้าหมายการเรียน เราจะต้องมีขั้นการเรียนรู้เอาไว้เพื่อที่จะได้ก้าวไปทีละขั้น scaffolding โดยเราต้องเริ่มรู้จาก background knowledgeพื้นฐานความรู้ก่อนการเรียนถึงจะบรรลุอย่างเต็มที่
                Scaffolding คือการเสริมต่อการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง บทบาทเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ที่ให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ ตามสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่ในขณะนั้น เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้ ขณะที่ผู้เรียนกำลังแก้ปัญหาหรือกำลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็น ขั้นตอน และปรับการสร้างความรู้ความเข้าใจภายในตน (Internalization) ให้กลายเป็นความรู้ความเข้าใจใหม่ภายในตนเอง ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน ให้ก้าวไปสู่ขั้นหรือระดับพัฒนาการที่สูงขึ้นไป ทำให้ผู้เรียนสามารถกำกับตนเองในการเรียนรู้ และมีความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งมันจะได้ไปเชื่อมโยงกับการตั้งเป้าการเรียนให้บรรลุถึงฝันแต่ว่ากว่าจะไปถึงจุดที่บรรลุเราต้องเริ่มจากวิธีการเรียนการจดการบันทึกงานซึ่งเราจะต้องรู้จักการเขียนแบบ academic writing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมาย

                การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมและอีกหลายวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้นั้นต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นั้นมีหลายทางหลายรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายคือต้องการให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามความฝันและประสบความสำเร็จแต่กว่าจะไปถึงขั้นบรรลุตามเป้าหมายจะต้องมีการประเมินกำกับตนเองด้วยว่าได้รู้หรือยังไม่รู้ แล้วถ้าหากยังไม่รู้จะต้องใช้วิธีใดที่จะทำให้ตัวเรารู้ขึ้นมาตัวเราจะต้องชี้นำตนเองได้ด้วยว่าหากเรายังไม่รู้แล้วเราจะต้องหาวิธีการใดเข้ามาช่วยเข้ามาเสริมให้เกิดการเรียนรู้เราจะต้องรู้จักแก้ปัญหาหาวิธีการให้ตัวเองได้และเมื่อมีกลยุทธ์แล้วตัวเราก็จะต้องทำมันให้เต็มที่เต็มความสามารถเต็มศักยภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คงไม่ไกลเกินเอื้อมหากเรามีขั้นตอนการเรียนรู้ของตัวเองในเมื่อมีการช่วยให้ตัวเองเกิดการเรียนรู้ทุกด้านแล้วเป้าที่ตั้งไว้ในการเรียนจะต้องประสบความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้างตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “structure” ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language (1980:1278) ให้ความหมายไว้ 5 ประการ คือ 1) a complex entity. 2) a. The configuration of element, parts, or constituents in such and an entity; organization; arrangement.b. constitution; make-up. 3) The interrelation of parts or the principle of organization in a complex entity.    4) Relatively intricate or extensive organization: an elaborate electric structure. 5) Something constructed, especially, a building or part.
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา ในการแปลผู้แปลมักนึกถึงศัพท์แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าศัพท์คือปัญหาทางโครงสร้างนักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำเป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ พจน์ ลิงค์ การก กาล มาลา วาจก
1. คำนาม ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
                1.1บุรษ(person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
                1.2 พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวยมากกว่าหนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
                1.3 การก (case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกกรมในภาษาอังกฤษ
                1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ ( countable uncountable nouns ) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งปัน นามนับได้และนามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนามกับคำนาม ความแตกต่างดังกล่าวแสดงโดยการใช้ตัว a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –sที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s
                1.5 ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) ความชี้เฉพาะได้แยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นเวลาคนไทยแปลไทยเป็นอังกฤษจึงต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
2. คำกริยา คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับหลายประเภท เช่น กาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก เป็นต้น
                2.1 กาล ( tense )คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต
                2.2 การณ์ลักษณะ (aspect ) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่องหรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ( continuous aspectหรือ progressive aspect ) ซึ่งแสดงโดย Verb to be + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งแสดงโดย Verb to have+ past participle การณ์ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่คนไทยเข้าใจง่ายเพราะภาษาไทยมีการณ์ลักษณะทำนองนี้เหมือนกัน
                2.3 มาลา (mood) มาลาเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการใช้มาลาแต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ปัญหาที่เกี่ยวกับมาลาในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยอาจพบน้อยกว่าแปลไทยเป็นอังกฤษเพราะในภาษาอังกฤษมีรูปแบบหลากหลายกว่าบังคับใช้มากกว่าและความหมายก็ยากที่จะเข้าใจ
                2.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ(กรรตุวาจก)หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ(กรรมวาจก)ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับไทยประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไป
                2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ในการแปลจากอังกฤษเป็นไทยผู้แปลอาจจำเป็นต้องขึ้นประโยคใหม่ นั่นหมายความว่าทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ของประโยคใหม่
3. ชนิดของคำประเภทอื่นๆ ชนิดของคำประเภทอื่นๆนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยานั่นก็คือ คำบุพบท (preposition) ในการแปลทุกครั้งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษาและนอกจากนั้นคำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องชนิดของคำและไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการถ้าผู้แปลเข้าใจการแปลก็จะง่ายยิ่งขึ้น

2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construct) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้างเช่น หน่วยสร้างนามวลี หน่วยสร้างกรรมวาจก หน่วยสร้างคุณานุประโยคเป็นต้น
                1.หน่วยสร้างนามวลี :ตัวกำหนด (Determiner)+ นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
                2. หน่วยสร้างนามวลี :ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ)vsส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
                3. หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือประธาน/ผู้รับการกระทำ + กริยา Verb to be + past participle + (by +นามวลี/ผู้กระทำ)
                4. หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ)กับประโยคเน้นtopic (ไทย) ภาษาไทยจะเน้นtopic ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาอังกฤษจะเน้น subject
                5. หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า เช่น เดิน ไป ดูหนัง เมื่อแปลประโยคนี้เป็นภาษาอังกฤษจะสังเกตได้ว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่กริยาเรียง
3.สรุป
                1. เรื่องชนิดของคำ ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก ลักษณนาม และ คำลงท้าย
                2. เรื่องประเภททางไวยากรณ์ สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน และสำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ชัดเจน
                3. เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                                นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยมีหรือไม่มีก็ได้ 
                                การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างไทยกับภาษาอังกฤษ
                                หน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
                                ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน
                                หน่วยสร้างกริยาเรียงมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ








ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
                ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษาจึงแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อในการแสดงและสื่อสารกันทั่วโลก ดังนั้นการแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปลเพื่อประหยัดและได้งานที่มีประสิทธิภาพ
                จากการที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับนานาประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง งานแปลจึงมีความสำคัญต่อการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์  พิจารณาและกลั่นกรอง นักแปลจึงต้องมีความเพียรพยายามอย่างมากในการฝึกฝน เพื่อให้มีประสบการณ์และมีความรู้ทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง และเพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย

                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการแปลประจำราชสำนักจึงมีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก

                การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันสะดวกรวดเร็ว และในด้านวิชาการต่างๆได้มีการแปลตำราเป็นภาษาไทย เช่น การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจได้มีความรู้ในการศึกษาหรือเดินทางไปต่างประเทศจึงมีการแปลงานทุกอย่างให้เป็นภาษาไทยมากที่สุดเพื่อสร้างความเข้าใจ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติจะเห็นได้ว่าการแปลเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย

                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจนักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและนำมาใช้ในการแปลเพราะจะได้ทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดีไม่เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยค
การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง โดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา การแปลเป็นทักษะพิเศษ
คุณสมบัติของผู้แปล
                1. เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ รักการอ่าน ค้นคว้า มีความรับผิดชอบ
                2. เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. เป้าหมายที่สำคัญของการแปล คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนการแปลให้ได้ผล ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง ผู้แปลจึงต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกต และค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
                สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่ากำลังอ่านงานแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยการแปลอย่างมิดชิด
บทบาทของการแปล
                การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
                ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้งใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาที่ใช้ในงานแปลนี้มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2.สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3. ใช้การแปลแบบตีความไม่แปลคำต่อคำแปลเป็นความเรียง
การให้ความหมายในการแปล
การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ 1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน      2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การใช้ปัจจุบันกาล ควรพิจารณา 2 กาล คือ ปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) คือ เป็นการกระทำที่เป็นนิสัย (Habitual action), การกระทำตามกฎธรรมชาติ(Natural law), สถานภาพของปัจจุบันกาล(The Simple Present of State), อนาคตกาล(Future action), ปัจจุบันกาล(The Simple Present), การเล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน(The Narrative Present)
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
1. อนาคต การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลและอนาคตกาล การกระทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน การให้ปัจจุบันกาลโดยมีคำว่า always หรือ often
2. โครงสร้างประโยคอื่นๆรวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
3.  ศัพท์เฉพาะ การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่ายแต่ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้างจะมีศัพท์ที่แปลตามคำแล้วไม่ใกล้เคียง
4.  ตีความทำนาย คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วไปมากกว่าการให้คำเหมือนหรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน

การแปลกับการตีความจากปริบท
                ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกันแต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1. คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏ
2. ไวยากรณ์ แบบแผนในการจัดเรียงคำในภาษา
3. เสียง เสียงจะมีจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษาความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2. รูปแบบเดียวกันอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
ประเภทของความหมาย
1. ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรงคือความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเป็นความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปลความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่านซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
3. ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมายต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
4.ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และการเปรียบโดยนัย 
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปลโดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปลและให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย

เรื่องที่จะแปล

                เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขามีทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วรรณกรรม จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใดซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย
 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates