วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้างตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “structure” ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language (1980:1278) ให้ความหมายไว้ 5 ประการ คือ 1) a complex entity. 2) a. The configuration of element, parts, or constituents in such and an entity; organization; arrangement.b. constitution; make-up. 3) The interrelation of parts or the principle of organization in a complex entity.    4) Relatively intricate or extensive organization: an elaborate electric structure. 5) Something constructed, especially, a building or part.
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา ในการแปลผู้แปลมักนึกถึงศัพท์แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าศัพท์คือปัญหาทางโครงสร้างนักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำเป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ พจน์ ลิงค์ การก กาล มาลา วาจก
1. คำนาม ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
                1.1บุรษ(person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
                1.2 พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือจำนวยมากกว่าหนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
                1.3 การก (case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการกประธานและการกกกรมในภาษาอังกฤษ
                1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ ( countable uncountable nouns ) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งปัน นามนับได้และนามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนามกับคำนาม ความแตกต่างดังกล่าวแสดงโดยการใช้ตัว a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –sที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s
                1.5 ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) ความชี้เฉพาะได้แยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้นเวลาคนไทยแปลไทยเป็นอังกฤษจึงต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
2. คำกริยา คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับหลายประเภท เช่น กาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก เป็นต้น
                2.1 กาล ( tense )คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต
                2.2 การณ์ลักษณะ (aspect ) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่องหรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ( continuous aspectหรือ progressive aspect ) ซึ่งแสดงโดย Verb to be + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งแสดงโดย Verb to have+ past participle การณ์ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่คนไทยเข้าใจง่ายเพราะภาษาไทยมีการณ์ลักษณะทำนองนี้เหมือนกัน
                2.3 มาลา (mood) มาลาเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการใช้มาลาแต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ปัญหาที่เกี่ยวกับมาลาในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยอาจพบน้อยกว่าแปลไทยเป็นอังกฤษเพราะในภาษาอังกฤษมีรูปแบบหลากหลายกว่าบังคับใช้มากกว่าและความหมายก็ยากที่จะเข้าใจ
                2.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ(กรรตุวาจก)หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ(กรรมวาจก)ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับไทยประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไป
                2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ในการแปลจากอังกฤษเป็นไทยผู้แปลอาจจำเป็นต้องขึ้นประโยคใหม่ นั่นหมายความว่าทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ของประโยคใหม่
3. ชนิดของคำประเภทอื่นๆ ชนิดของคำประเภทอื่นๆนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยานั่นก็คือ คำบุพบท (preposition) ในการแปลทุกครั้งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษาและนอกจากนั้นคำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องชนิดของคำและไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการถ้าผู้แปลเข้าใจการแปลก็จะง่ายยิ่งขึ้น

2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construct) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้างเช่น หน่วยสร้างนามวลี หน่วยสร้างกรรมวาจก หน่วยสร้างคุณานุประโยคเป็นต้น
                1.หน่วยสร้างนามวลี :ตัวกำหนด (Determiner)+ นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
                2. หน่วยสร้างนามวลี :ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ)vsส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
                3. หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือประธาน/ผู้รับการกระทำ + กริยา Verb to be + past participle + (by +นามวลี/ผู้กระทำ)
                4. หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ)กับประโยคเน้นtopic (ไทย) ภาษาไทยจะเน้นtopic ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาอังกฤษจะเน้น subject
                5. หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า เช่น เดิน ไป ดูหนัง เมื่อแปลประโยคนี้เป็นภาษาอังกฤษจะสังเกตได้ว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่กริยาเรียง
3.สรุป
                1. เรื่องชนิดของคำ ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก ลักษณนาม และ คำลงท้าย
                2. เรื่องประเภททางไวยากรณ์ สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน และสำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ชัดเจน
                3. เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                                นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยมีหรือไม่มีก็ได้ 
                                การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างไทยกับภาษาอังกฤษ
                                หน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
                                ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน
                                หน่วยสร้างกริยาเรียงมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ








0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates