กลยุทธ์ในการเรียนภาษา
ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟูมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ได้มีโรงเรียนสอนภาษาหลายๆภาษาที่มีภาษาอังกฤษร่วมขึ้นด้วย
ในปัจจุบันนี้ได้มีการใช้การเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษล้วนดังนั้นจึงได้มี โปรแกรมอินเตอร์เกิดขึ้น
และนับว่าในยุคปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษก็มีการใช้อย่างต่อเนื่องและเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาก้าวไกลเรื่อยๆจึงได้มีการสอนภาษาอังกฤษผ่านทาง
วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต
ซึ่งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ภาษาอีกด้วย แต่ว่าการเรียนภาษานั้นจะแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆคือ
การเรียนภาษานั้นต้องเรียนควบคู่กันคือ ความรู้และทักษะ ความรู้คือภาคทฤษฎี
ส่วนทักษะนั้นคือภาคปฏิบัติหากเรียนแต่ภาคทฤษฏีแล้วภาคปฏิบัติก็ไม่ได้ฝึกนั้น
การเรียนก็ย่อมไม่บรรลุผลตามเป้าหมายของภาษา แต่ทว่าหากจะให้บรรลุเป้าหมายตามคาดหวังก็คงเป็นไปไม่ค่อยได้เพราะ
คุณมาตรฐานในเรื่องการเรียนการสอนนั้นยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวคือคุณภาพการเรียนการสอนภาษายังคงเป็นปัญหาคือ
ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล
นักเรียนนักศึกษาสมัยนี้จะดูอ่อนภาษาอังกฤษยิ่งกว่าในสมัยก่อนอีกทั้งที่น่าจะดูเก่งกว่าเนื่องจากในยุคสมัยนี้มีโอกาสได้พบเห็นมากกว่าในยุคสมัยก่อนดังนั้นจึงได้มีการหยิบยกปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาวิจารณ์
คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน โทษครูผู้สอน
ว่าขาดความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษา โทษตำรา แบบเรียน
และสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน เพราะมีข้อผิดพลาด บกพร่อง
ไม่น่าสนใจ โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนว่าจัดสัดส่วนให้น้อยเกินไป โทษนโยบายของรัฐ ว่าขาดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ
โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม ว่าไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง จริงอยู่การจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผล
ย่อมมีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกันแต่เมื่อพิจารณาแล้วตัวผู้เรียนคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด
เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้
ผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการท้อแท้
และควรจะหันมามองหาข้อดีและใช้ประโยชน์จากปัจจัยเชิงบวกให้มากที่สุด
แต่ในการพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิผลนั้นจำเป็นต้องดำเนินไปเป็นระบบเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ก็สมควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน
ต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจนเมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้วก็ต้องรู้จักจัดเตรียม
และเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง เช่น
โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อการรับชมข่าวสารต่างประเทศ
ห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองในสถานศึกษา คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลาย การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านข่าว ฟังข่าว
และฟังข่าวจากสำนักต่างประเทศ
และค้นหาจากเว็บไซต์ซึ่งกลายเป็นฐานข้อมูลทางภาษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อรู้จักจัดเตรียม
สื่อแหล่งข้อมูลพร้อมแล้ว ขั้นต่อไปก็จำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน
และกลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา –ฝึกฝน – สังเกต – จดจำ – เลียนแบบ – ดัดแปลง – วิเคราะห์ – ค้นคว้า – ใช้งาน – ปรับปรุง ซึ่งขยายความได้ดังนี้
1.
ศึกษาการเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ
ความรู้ที่เปรียบเหมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ ศัพท์ ถ้อยคำที่ใช้แทนความหมาย ส่วน ไวยากรณ์
คือระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการนำถ้อยคำมาร้อยเรียงประกอบเข้ากันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เชื่อมความได้สมบูรณ์
นอกจากตัวเนื้อภาษาแล้วยังมีความรู้อีก 2ด้านใหญ่ๆที่ไม่ควรละเลย คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา
ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมชนชาติของเจ้าของภาษา
เป็นความรู้ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาเข้าใจภาษามากยิ่งขึ้น และช่วยให้การสื่อสารกับเจ้าของภาษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผู้สอนนักวิชาการบางส่วนมักพูดเสมอว่า “ภาษาเป็นวิชาทักษะ ไม่ใช่วิชาเนื้อหา” จนทำให้ผู้เรียนเข้าใจผิดว่า
ภาษาเป็นวิชาที่ไม่มีเนื้อหาให้เรียน ในภาษาจึงไม่ต้องมีการเรียนเนื้อหา
จึงต้องมีเพียงการ “การฝึกทักษะ” ทำให้ไม่มีการใส่ใจว่าเนื้อหาคือคำศัพท์และไวยากรณ์
ซึ่งนั่นคือตัวเนื้อหาโดยตรง
แต่ว่าการฝึกทักษะและฝึกฝนก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษ
2. ฝึกฝน การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่น เป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้องมีสองด้านควบคู่กันไปคือ
ความรู้และทักษะ การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกภาคปฏิบัติ
ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย คือไม่สามารถใช้ภาษาได้
ถึงแม้ว่าจะมีการฝึกแต่ทักษะแต่ก็มิได้ละเลย การเรียนเนื้อหาภาคทฤษฎี
เพราะการฝึกทักษะทางภาษาคือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำๆจากข้อมูลความรู้จากฐานข้อมูลจนผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ถูกต้องคล่องแคล่ว
การจะฝึกฝนภาษาให้ได้ผล จำเป็นต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน ตา-ดู
ครอบคลุมทั้งการอ่าน ตัวหนังสือและข้อความ และการดู ภาพยนตร์ โทรทัศน์ การสังเกต
สังเกตกริยาท่าทางระหว่างการสนทนา หู – ฟัง ครอบคลุมทั้งการฟังและน้ำเสียงของผู้พูดในการสนทนา ฟังบรรยาย
ฟังเสียงภาพยนตร์ โทรทัศน์ และสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ปาก –พูด
หมายถึงการออกเสียง การสนทนา การอ่านออกเสียง มือ-เขียน ผู้เรียนต้องใส่ใจเรื่องระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องในการเขียน ทั้งสี่ทางนี้สอดคล้องกับทักษะการใช้ภาษา 4 ด้าน
และยังต้องมีแรงเสริมอีก2ทาง คือหัว-คิด สมรรถนะทางด้านปัญญา ใจ-รัก สมรรถนะทางด้าน “จิต” ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเราสาเหตุที่ยังใช้ไม่คล่องคือ
ผู้เรียนยังฝึกใช้ภาษาน้อยเกินไป และยังขาดการสังเกต สำหรับดิฉันการฝึกฝนคือการฟังและดูยูทูป
โดยจะฟังเพลงในยูทูปตอนแรกจะฟังก่อนแล้วรอบหลังค่อยเปิดแบบที่มีlyrics เพื่อฝึกทักษะการอ่านด้วยและในบางครั้งก็ดูภาพยนตร์ออนไลน์ที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษจะดูในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษบางครั้งมีภาษาไทยแปลร่วมด้วยหรือบางครั้งดูภาษาไทยแล้วมีภาษาอังกฤษร่วมด้วยจะได้เป็นการฝึกการสังเกตไปในตัวด้วย
3. สังเกตภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มาก บางเรื่องบางด้านยังซับซ้อน
บางเรื่องเป็นลักษณะของการใช้ภาษาเองไม่อาจใช้เหตุผลได้
ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องหัดเป็นผู้สังเกต
เพราะมีความละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบในการเรียนและใช้ภาษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสนใจในเรื่องใหญ่คือ ไวยากรณ์ เช่น โครงสร้างวลีและประโยค
การผันรูปกริยาตาม tense ,
ศัพท์ เช่น ชนิดของคำ คำที่มีหลายความหมาย คำที่มักปรากฏร่วมกัน และภาษาสำเร็จรูป
ซึ่งมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างศัพท์กับไวยากรณ์ ได้แก่ โวหาร
ซึ่งใช้สื่อความหมายในสถานการณ์ต่างๆ ตามความนิยมในการใช้ภาษา เช่น การทักทาย
การขอบคุณ สำนวน ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากความหมายของถ้อยคำที่มารวมกัน
ตลอดจนสุภาษิต ซึ่งใช้แทนถ้อยคำทั่วไป แต่สื่อความหมายเป็นคติสอนใจได้อีกด้วย
ดังนั้นผู้เรียนภาษาจึงต้องเป็นคนหัดสังเกตเพราะจะได้แยกแยะเนื้อหาต่างๆในการเรียนได้
เมื่อมีการสังเกตแล้ว ผู้เรียนยังต้องมีคือการจดจำเพราะหากสังเกตแล้วแต่จดจำไม่ได้ก็ถือว่าเปล่าประโยชน์ไม่สามารถนำไปใช้ได้
4. จดจำ มีนักการศึกษาส่วนหนึ่งมักจะโจมตีว่าการศึกษาแบบจดจำหรือท่องจำคือการเรียนแบบผิดๆ
จนทำให้ผู้คนเข้าใจว่าการเรียนแบบนี้เป็นวิธีที่เชย
และล้าสมัยไม่มีการพัฒนาและไม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์การท่องจำจึงไม่เกิดการเรียนรู้
แต่แท้จริงแล้วความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิด
รวมทั้งการเรียนภาษาอีกด้วย โดยเฉพาะการเรียนภาษาต่างประเทศ ในหลายๆกรณี การฝึกฝนอาจไม่เพียงพอแต่ต้องอาศัยการท่องจำมาเสริมจากการท่องจำก็มาถึงเรื่อง
“การจดจำ”การจดจำสำคัญคือเพราะบางครั้งจะอาศัยการท่องปากเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์
หรือไม่เพียงพอจำต้องอาศัยการบันทึกลายลักษณ์อักษรควบคู่ไปกับการท่องปากเปล่า
สิ่งที่จดไว้ยังสามารถเป็นลายลักษณ์อักษรเก็บไว้ตรวจสอบหรืออ้างอิงภายหลังได้
เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการท่องจำ และการจดจำ
ดังนั้นพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะมีคือการเลียนแบบเพราะเป็นขั้นตอนต่อเนื่องมาจากการจดจำ
ในเมื่อจดจำได้แล้วจึงต้องมีพฤติกรรมการเลียนแบบเกิดขึ้น
5. เลียนแบบ แต่ละภาษาจะมีสัญนิยม
ของตนเองเพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย
คนที่เป็นสมาชิกใหม่ของประชาคมที่ใช้ภาษานั้นก็ต้องยอมรับศึกษา
และใช้สัญนิยมตามนั้น
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบตลอดทุกขั้นตอนไปจนตลอดชีวิต
เริ่มจากเด็กที่เรียนภาษา
ย่อมต้องหัดพูดตามหรือเลียนแบบภาษาของพ่อและแม่และบุคคลอื่นในครอบครัว
เมื่อย่างเข้าสู่วัยเรียน นักเรียนก็จะต้องศึกษาเลียนแบบภาษาครู
ด้วยเหตุนี้ข้อแตกต่างระหว่างเรียนภาษาแม่กับการเรียนภาษาต่างประเทศก็คือผู้ที่เรียนภาษาแม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษา
จึงมีแหล่งข้อมูลความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่าและมีมากมายเพียงพอที่จะใช้เป็นแบบฝึกตามได้
ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาคือการนำพจนานุกรมสอดแทรกประโยคตัวอย่างที่แสดงใช้วิธีถ้อยคำตามภาษาที่ใช้จริง
ในพจนานุกรมยังบันทึกเสียงคำอ่านของศัพท์และมักเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถอัดเสียงตามได้ทำให้เป็นการฝึกเลียนแบบอีกแนวทางหนึ่ง
เมื่อมีการเลียนแบบแล้วขั้นต่อไปคือการดัดแปลงเพราะนอกจากเลียนแบบแล้วจะต้องมีการดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์อีกด้วย
6. ดัดแปลง เมื่อเลียบแบบแล้วต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ
การดัดแปลงย่อมต้องเข้าใจ ไวยากรณ์ประกอบกับความรู้ของศัพท์และสำนวนโวหารต่างๆ
ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษา
จึงให้ข้อมูลทางไวยากรณ์ในรูปแบบของโครงกริยา หรือโดยใช้รหัสไวยากรณ์ เช่น- believe [+that] I believe that all children are born with equal
intelligence. , believe [ + object +adj. ] All the crew are missing , believed
dead. ข้อมูลลักษณะนี้จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้สามารถดัดแปลงถ้อยคำและโครงสร้างที่ปรากฏในประโยคตัวอย่างได้สะดวกยิ่งขึ้น
และนอกจากเราสามารถดัดแปลงประโยคได้แล้วเราต้องคำนึงถึงความถูกต้องด้วย
ดังนั้นปัจจัยอีกหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการวิเคราะห์
7. วิเคราะห์ ในการเรียนภาษานั้นผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น
การฝึกฝน การจดจำ การเลียนแบบ และการดัดแปลง
แต่เมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะในการอ่านการเขียน ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วๆไป การวิเคราะห์จึงมีได้3ระดับ คือ
ระดับศัพท์ คือวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์ ต่อไปคือระดับไวยากรณ์
จะต้องวิเคราะห์โครงสร้างและรูปประโยค และสุดท้ายคือ ระดับถ้อยความ
จะต้องวิเคราะห์ทั้งโครงสร้างและความหมายระหว่างประโยค ตลอดจนความหมายโดยรวม
เมื่อเราได้ทำการวิเคราะห์แล้วแต่ยังไม่เพียงพออาจต้องมีกลยุทธ์เข้ามาเสริมที่ขาดไม่ได้คือ
ค้นคว้า
8.
ค้นคว้า ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา
แบบเรียน สื่อการเรียนอื่นๆอาจยังไม่เพียงพอ
ผู้เรียนจำเป็นต้องมีการค้นคว้าศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียนภาษา
การเรียนการสอนในประเทศไทยยังอ่อนด้อยเป็นอย่างมากในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
เพราะนักเรียนไทยรอรับจากครูเพียงเท่านั้น สังเกตจากการออกเสียงสาเหตุที่นักเรียนไทยออกเสียงผิดพลาดนั้นมักเกิดจากเด็กไทยออกเสียงตามครูเท่านั้นไม่ได้ออกตามหลักที่แท้จริง
อีกทั้งยังไม่ได้รับการปลูกฝังในเรื่องการค้นคว้า
ดังนั้นมันขึ้นอยู่กับผู้เรียนที่จะต้องจัดการตัวเองค้นคว้าเพื่อได้ใช้ในอนาคตและยังปลูกฝังการตรวจสอบในตัวเราอีกด้วย
และได้เรียนรู้วิธีใช้สัทอักษรประกอบกับการฝึกออกเสียงและการฟังจากเจ้าของภาษา
ทั้งนี้เมื่อเราได้ศึกษาและเรียนรู้เนื้อหาแล้วขั้นตอนต่อไปคือการนำไปประยุกต์ใช้งานในอนาคต
9. ใช้งาน
ในเมื่อเราได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาและส่วนประกอบทักษะต่างๆ ทั้งทักษะการฟัง
พูด อ่าน เขียน
มันก็สมควรที่จะใช้งานเพราะจะได้ทดสอบและตรวจสอบตัวเราด้วยว่าความรู้ทักษะเรามีเพียงพอแล้วหรือไม่
เพียงพอที่จะออกไปสู่โลกภายนอก โลกกว้าง หรือพร้อมจะออกไปถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์
การได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตในบางประเทศจะทำให้เราได้ใช้ภาษาในสภาพจริงอย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของภาษา
เป็นปัจจัยที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาและยังทำให้เราได้รู้จุดอ่อนจุดด้อยของเราจะได้ปรับปรุง
และกลยุทธ์สุดท้ายอีกหนึ่งปัจจัยคือ ปรับปรุง
10. ปรับปรุง เมื่อได้ผ่านการศึกษา การค้นคว้า การดัดแปลงแล้ว
ยังมีหลายด้านที่เราต้องพัฒนาควบคุม
เมื่อมีการใช้งานแล้วหากมันยังไม่บรรลุตามเป้าหมายอย่างเต็มที่เราควรนำมาวิเคราะห์
เราจะต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดข้อบกพร่องของตัวเองไม่ว่าจะเป็น ศัพท์สำนวน
ไวยากรณ์ วิธีออกเสียงหรือในด้านอื่นๆก็ตามแล้วนำกลับมาปรับปรุงแก้ไข
เพื่อที่จะได้มีความถูกต้อง สมบูรณ์แบบ100% และสามารถนำไประยุกต์ใช้กับอนาคตของตัวเองได้เนื่องจากเราได้เรียนรู้และได้มีการพัฒนาซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างอย่างมากจากประสบการณ์
และควรหาโอกาสไปทดสอบเพื่อวัดความก้าวหน้า
อนึ่งองค์ประกอบทั้งสิบของกลยุทธ์ในการเรียนภาษานี้มีความเกี่ยวเนื่องกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
จำเป็นต้องนำมาใช้บ่อยๆใช้อย่างสม่ำเสมอ และยังต้องใช้ต่อเนื่องตลอดไปอีกด้วย
จึงจะบังเกิดผล เพราะว่าการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องเพาะบ่มสะสม เป็นเวลานาน
มิใช่จะได้โดยเพียงผ่านการอบรม ผ่านโรงเรียนกวดวิชา ดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเรียนภาษาต่างประเทศสำหรับคนไทยถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ยาก
เรื่องที่ซับซ้อน แต่มันก็ไม่ได้แปลกใหม่ไปสำหรับในยุคปัจจุบันนี้เพราะการใช้ภาษาอังกฤษนั้นได้มีการใช้มาช้านานแล้วแต่ที่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนไทยคือ
การไม่เปิดใจยอมรับที่จะใช้ภาษาอย่างเข้าใจไม่เปิดใจยอมรับที่จะฝึกที่จะพัฒนาหากยังกล่าวโทษสิ่งแวดล้อมปัจจัยนอกแล้วคงเป็นไปไม่ได้ต้องกลับมาดูที่ปัจจัยหลักคือ
ตนเองด้วยว่าเราพร้อมที่จะยอมรับมันแล้วหรือไม่ พร้อมที่จะฝึกฝนกันแล้วหรือยังโดยการที่เราคิดว่าเราไม่เก่ง
เราทำไม่ได้เพราะเรายังกลัว กลัวไปทุกอย่าง กลัวผิดหลักไวยากรณ์
กลัวผิดศัพท์แต่ถ้าหากเราลองพุ่งชนพุ่งเข้าใส่กล้าที่จะทำ
เราก็สามารถทำมันได้และไม่ใช่แค่เพียงกลยุทธ์แค่10 ข้อนี้แล้วเราจะฝึกเพียงแค่นี้เราก็ควรต้องหาวิธีพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆด้วยซึ่งกลยุทธ์10ข้อนี้เป็นเพียงแนวทางเริ่มต้น
แต่ถ้าหากว่าเราพัฒนาได้เยอะกว่านี้อีกไม่นานในอนาคตอันใกล้นี้การเรียนภาษา
การใช้ภาษาอังกฤษจะต้องประสบความสำเร็จแน่นอน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น