ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษาจึงแสดงให้เห็นว่า
ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อในการแสดงและสื่อสารกันทั่วโลก
ดังนั้นการแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น
ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปลเพื่อประหยัดและได้งานที่มีประสิทธิภาพ
จากการที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับนานาประเทศมากขึ้น
ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
งานแปลจึงมีความสำคัญต่อการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พิจารณาและกลั่นกรอง
นักแปลจึงต้องมีความเพียรพยายามอย่างมากในการฝึกฝน
เพื่อให้มีประสบการณ์และมีความรู้ทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง
และเพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส
จึงมีการแปลประจำราชสำนักจึงมีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทในสังคมไทย
ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันสะดวกรวดเร็ว และในด้านวิชาการต่างๆได้มีการแปลตำราเป็นภาษาไทย
เช่น การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อช่วยให้นักศึกษา
นักธุรกิจได้มีความรู้ในการศึกษาหรือเดินทางไปต่างประเทศจึงมีการแปลงานทุกอย่างให้เป็นภาษาไทยมากที่สุดเพื่อสร้างความเข้าใจ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติจะเห็นได้ว่าการแปลเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์
และโครงสร้างของการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจนักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและนำมาใช้ในการแปลเพราะจะได้ทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดีไม่เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยค
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง
โดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา การแปลเป็นทักษะพิเศษ
คุณสมบัติของผู้แปล
1. เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ รักการอ่าน ค้นคว้า มีความรับผิดชอบ
2. เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. เป้าหมายที่สำคัญของการแปล
คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนการแปลให้ได้ผล ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
ผู้แปลจึงต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกต และค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง
สวยงาม จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่ากำลังอ่านงานแปล
ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยการแปลอย่างมิดชิด
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร
คือผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ลักษณะงานแปลที่ดี
ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้งใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาที่ใช้ในงานแปลนี้มีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2.สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3. ใช้การแปลแบบตีความไม่แปลคำต่อคำแปลเป็นความเรียง
การให้ความหมายในการแปล
การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ 1.
การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน 2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การใช้ปัจจุบันกาล ควรพิจารณา 2 กาล คือ ปัจจุบันกาล (Simple
Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) คือ
เป็นการกระทำที่เป็นนิสัย (Habitual action), การกระทำตามกฎธรรมชาติ(Natural
law), สถานภาพของปัจจุบันกาล(The Simple Present of State), อนาคตกาล(Future action), ปัจจุบันกาล(The
Simple Present), การเล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน(The
Narrative Present)
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
1. อนาคต การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
การกระทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน การให้ปัจจุบันกาลโดยมีคำว่า always
หรือ often
2. โครงสร้างประโยคอื่นๆรวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
3. ศัพท์เฉพาะ
การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่ายแต่ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้างจะมีศัพท์ที่แปลตามคำแล้วไม่ใกล้เคียง
4. ตีความทำนาย คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วไปมากกว่าการให้คำเหมือนหรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน
การแปลกับการตีความจากปริบท
ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกันแต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1. คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏ
2. ไวยากรณ์ แบบแผนในการจัดเรียงคำในภาษา
3. เสียง เสียงจะมีจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษาความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2. รูปแบบเดียวกันอาจจะมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
ประเภทของความหมาย
1.
ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรงคือความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเป็นความคิด
มโนภาพ
2. ความหมายแปลความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่านซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
3. ความหมายตามปริบท
รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมายต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
4.ความหมายเชิงอุปมา
เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย
และการเปรียบโดยนัย
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปลโดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปลและให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขามีทั้งวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วรรณกรรม
จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใดซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น