วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 2 Fourth : (1st September, 2015)

                                                      Learning log 
                                                               Part of Sentences
                                                    Fourth : (1st September,2015)

       ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆดังนั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกันดังนั้นการเรียนรู้ การสนทนาภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันมาก เพราะในยุคปัจจุบันนี้ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากและคนไทยก็มีการเข้าไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น การเรียนรู้ทั้ง4ทักษะจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก และนอกจากจะ ฟัง พูด อ่านได้แล้ว การเขียนก็มีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางการสื่อสารด้วยดังนั้นในงานชิ้นนี้ดิฉันจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างประโยคในภาษาอังกฤษแต่จะหยิบยกมาในหัวข้อ Complex Sentence
Complex Sentence
3. ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) คือ ประโยคความซ้อน ซึ่งประกอบด้วยประโยคหลัก 1 ประโยค และประโยครองหรืออนุประโยคอีกอย่างน้อย 1 ประโยค
        ประโยคหลัก (main clause หรือ independent clause) คือ ประโยคอิสระที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง มีประธานและ ส่วนขยายเป็นของตัวเองไม่ขึ้นตรงต่อ ประโยคอื่น
        ประโยครอง (subordinate clause หรือ dependent clause) คือ ประโยคที่อาศัย ประโยคหลักอยู่ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ เพราะเนื้อหาของประโยครองเป็นเนื้อหา ที่ใช้ขยายหรืออธิบายประโยคหลัก จะทำหน้าที่ เป็นกรรม, ส่วนขยาย หรือ กริยาเป็นต้น จึงต้องมาในประโยคที่มีประโยคหลักอยู่ด้วย
        ประโยค complex sentence มีการใช้ตัวเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause ดังนี้
1. Subordinate Conjunction ได้แก่
 if
as if 
since 
because 
that 
whether 
lest 
as 
before 
after 
white
till 
until 
though 
although 
unless 
so that 
than 
provided 
in order that 
provided that
notwithstanding



2. Relative Pronoun ได้แก่
 who
whom 
whose
which 
that 
as 
but
what 
of which 

3. Relative Adverb ได้แก่  
 when
 why
 where
การสร้างประโยค Complex Sentence
Complex Sentence ต้องมีประโยคหลัก 1 ประโยค และมีประโยครองอย่างน้อย 1 ประโยค ซึ่งประโยครองสามารถเป็น
1)     Noun Clause
2)     Adjective Clause
3)     Adverb Clause
1. Noun Clause (นามานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนาม หรือเสมือนนาม  ซึ่งลักษณะของประโยค Noun Clause จะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำต่อไปนี้ คือ :- what, that, which, where, when, why, who, whom, whose, how.  ซึ่ง Noun Clause นี้ย่อมทำหน้าที่ได้หลายอย่างในหลักไวยากรณ์ เช่นเดียวกับนามทั่วไป  คือ    
      (1)  เป็นประธานของกริยา เช่น Where he stays is not answered.
      (2)  เป็นกรรมของกริยา  เช่น..   I know where he lives.
      (3)  เป็นกรรมของ Preposition เช่น   She is waiting for what she wants.
      (4)  เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา เช่น  The books are what they want.
      (5) เป็นนามซ้อนนามของนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น The news that he was dead is not true.  
2. Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์(Adjective)ขยายนามที่อยู่ข้างหน้าของมัน ซึ่งลักษณะของ Adjective Clause นั้นจะต้องขึ้นต้นประโยคด้วยคำต่อไปนี้ คือ which, where, when, why, who, whom, whose, of which, that(และอาจจะขึ้นต้นด้วยคำเหล่านี้ด้วย คือ as(เช่นเดียวกันกับ), but(ผู้ซึ่งไม่), before(ก่อนวันที่), after(หลังจากวันที่)  และหน้าคำเหล่านี้ต้องเป็นคำนามด้วย (หากหน้าคำเหล่านี้เป็นคำกริยา ไม่ใช่นาม ประโยคนั้นก็จะเป็นประโยค Noun Clause ไป)
 เช่น  He reads the book which I gave him. เขาอ่านหนังสือที่ผมได้ให้เขาไป
3. Adverb Clause (วิเศษณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เหมือน Adverb (กริยาวิเศษณ์)ทั่วๆไป เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยาในประโยคหลัก(Main Clause) ซึ่ง Adverb Clause แบ่งออกเป็น 9 ชนิดคือ
1. Adverb Clause ที่แสดงลักษณะอาการ(Manner) จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as, as if, as  hough.
2. Adverb Clause ที่แสดงสถานที่(Place)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า where, wherever, as far as, as near as.
3. Adverb Clause ที่แสดงเวลา(Time)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า when, e, while, since, as, before, after, until, as soon as, as long as, all the time(that).
4. Adverb Clause ที่แสดงเหตุผล(Reason)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า because, as, since, seeing, that, now that.
 5. Adverb Clause ที่แสดงความมุ่งหมาย(Purpose)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so as, in order that, for the purpose, that, for fear that.
6. Adverb Clause ที่แสดงการยอมรับ(Concession)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า although, thought, even thought, even if.
7. Adverb Clause ที่แสดง การเปรียบเทียบ(Comparison)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as + Adjective + as,  as + Adverb + as,  not so + Adjective + as,  not so + adverb + as.
8. Adverb Clause ที่แสดง เงื่อนไขหรือสมมติ(Condition)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า if, if only, unless, whether, supposing that, provided that, on condition that, in case.
9. Adverb Clause ที่แสดงผล(Result)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so that, so….that, such….that, so…as to.
ตัวอย่างประโยค Complex Sentence  
 My boss told me that I would be punished.
จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และประโยค subordinate clause 1 ประโยค ดังนี้
My boss told me เป็น main clause
that I would be punished เป็น subordinate clause ที่เป็นnoun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา told
Complex Sentence อาจจะมี subordinate clause มากกว่า1ประโยคก็ได้ ดังเช่น ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
When I get there I found that he had gone.

จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และ ประโยค subordinate clause อีก 2 ประโยค ดังนี้
I found เป็น main clause
When I get there เป็น subordinate clause ที่เป็น adverb clause ขยายกริยา found ของประโยคหลัก
that he had gone เป็น subordinate clause ที่เป็น noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของ กริยา found ในประโยคหลัก
adjective Clauses
Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์(Adjective)ขยายนามที่อยู่ข้างหน้าของมัน ซึ่งลักษณะของ Adjective Clause นั้นจะต้องขึ้นต้นประโยคด้วยคำต่อไปนี้ คือ which, where, when, why, who, whom, whose, of which, that(และอาจจะขึ้นต้นด้วยคำเหล่านี้ด้วย คือ as(เช่นเดียวกันกับ), but(ผู้ซึ่งไม่), before(ก่อนวันที่), after(หลังจากวันที่)  และหน้าคำเหล่านี้ต้องเป็นคำนามด้วย (หากหน้าคำเหล่านี้เป็นคำกริยา ไม่ใช่นาม ประโยคนั้นก็จะเป็นประโยค Noun Clause ไป)
 เช่น  He reads the book which I gave him. เขาอ่านหนังสือที่ผมได้ให้เขาไป

 ประเภทของ adjective Clauses
          adjective clause แบ่งเป็น 3 ประเภท   ได้แก่
          11.3.1  Defining Clause ( บางตำราเรียก restrictive clause)
          11.3.2  Non-defining Clause ( บางตำราเรียก non-restrictive clause)
          11.3.3  Sentential Relative Clause ( บางตำราเรียก connective relative clause)
11.3.1 Defining Clause 
                     ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า   ว่าเป็นคนไหน   สิ่งไหน   อันไหน ไม่ใช้ เครื่องหมายใด ๆ
          คั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา 
                         
                     A letter which was in a pink envelope was one seeking for a donation to
                         conserve wildlife. 
                                         
                     The group of foreigners who visited our university was from Hawaii. 

          11.3.2 Non-defining Clause
                     ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า   โดยมีเครื่องหมาย comma (,) คั่น
          ระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา   
                          
                     His house, which is on Sukhumvit Road , is a two-storey house. 
                          
                     His wife, who teaches English at NIDA , got a Ph.D. from the USA.      

            ข้อสังเกต 
                     1.   ความแตกต่างของความหมายระหว่าง defining clause และ non-defining clause 
              จงอ่านประโยคคู่ต่อไปนี้ 
                     a. My son who is working at NIDA earned a Ph.D from the USA.
ประโยค a. สื่อความหมายว่า ฉันมีลูกชายมากกว่าหนึ่งคน และมีอยู่คนหนึ่งที่ทำงานที่ NIDA
b. My son , who is working at NIDA, earned a Ph.D from the USA. 
ส่วนประโยค   b. หมายความว่า   ฉันมีลูกชายเพียงคนเดียว และลูกคนนี้ทำงานที่ NIDA
c. Somsiri, who has long hair , is absent today. 
ส่วนประโยค c.  สื่อความหมายว่า   มีคนชื่อ สมสิริเพียงคนเดียวในกลุ่มซึ่งทุกคนรู้ว่าเป็นใคร   การบอกว่า เธอมีผมยาวเป็นเพียงการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น 
d. Somsiri who has long hair is absent today. 
ส่วนประโยค d. มี adjective clause มาชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า ในกรณีนี้สื่อความหมายว่า มีคนชื่อ สมสิริ มากกว่าหนึ่งคนในกลุ่ม   แต่คนที่ไม่มาคือ คนผมยาว
2.  การใช้   non-defining clause สามารถใช้ได้กับคำนามทั่วไป (common noun) ที่ในบริบทได้มีการชี้เฉพาะก่อนหน้าประโยคนี้ 
           Captain Boa is making an announcement to his passengers.  The captain , who is 40 years old , graduated from France.
ประโยคแรกมีการกล่าวถึง Captain Boa ครั้งหนึ่งแล้ว ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงกัปตันอีกครั้งในประโยคที่สอง จึงเป็นที่รู้กันว่าเป็นกัปตันคนเดิม  adjective clause ที่มาขยาย the captain ในประโยคที่สองจึงเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของกัปตันผู้นี้ ไม่ใช่การชี้เฉพาะว่าเป็นกัปตันคนใด
3. ห้ามใช้   that ใน non-defining clause 
 4. ไม่มีการละคำเชื่อมใน non-defining clause
11.3.3 Sentential Relative Clause   ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า   และจะใช้which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main clause ที่มาข้างหน้า 
Jane gave him a smile, which surprised him a great deal.
which surprised him a great deal เป็น adjective clause ขยายความใน main clause คือ Jane gave him a smile. ประโยคนี้หมายความว่า เจนยิ้มให้เขา ซึ่งทำให้เขาแปลกใจมาก
Jim got more money than other members in the team, which is not fair.
which is not fair เป็น adjective clause ขยายความใน main clause คือ Jim got more money than other members in the team. ประโยคนี้หมายความว่า จิมได้รับเงินมากกว่าสมาชิกคนอื่นๆ ในทีม ซึ่งไม่ยุติธรรม
ทั้งนี้ ไม่มี การละคำนำหน้า/คำเชื่อมใน sentential relative clause
หลักการใช้คำประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns)
Relative Pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม
Adjective Clause(คุณานุประโยค) ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนาม
ที่วางอยู่ข้างหน้าของมัน

(1) who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย
     หมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือ
แสดงลักษณะของนาม หรือสรรพนามตัวนั้น เช่น
1.
The manager will employ the application
who are bilingual.
ผู้จัดการจะจ้างผู้สมัครที่พูดได้สองภาษา
2.
He is the man who can play football
very well.
เขาคือผู้ชายที่สามารถเล่นฟุตบอลได้เก่งมาก
3.
Person who want to apply this post
must have computer knowledge.
คนที่ต้องการจะสมัครตำแหน่งนี้จะต้อง
มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
4.
Senee who speaks English very well
has gone to English.
สุนีย์ผู้ซึ่งพูดภาษาอังกฤษเก่งมากได้
ไปประเทศอังกฤษแล้ว

(2) whom ใชักับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย

     หมายความว่า whom ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นกรรม
ของอนุประโยคที่มันขยาย (เป็นกรรมของกริยาของอนุประโยคที่มันขยาย) เช่น

1.
I saw some on whom you know.
ผม เห็นใครบางคนที่คุณรู้จัก
2.
She is a good girl whom he wants
to marry.
เธอเป็นผู้หญิงที่ดีที่เขาต้องการแต่งงานด้วย
3.
The man (whom) she will marry
owns thispiece of land.
ผู้ชายที่เธอจะแต่งงานด้วย
เป็นเจ้าของที่ดินผืนนี้
4.
The student  (whom) I admire won
a scholarship to study abroad.
นักเรียนที่ผมยกย่องชมเชยคนนั้น ไดัรับทุน
ไปเรียนต่อต่างประเทศ

(3) whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล
     หมายความว่า whose ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุุคคลซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนามหรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น

1.
This is the woman whose husband
is a teacher.
นี่คือผู้หญิงที่สามีของเธอเป็นอาจารย์
2.
I know a filmstar whose father
is my friend.
ฉันรู้จักกับดาราภาพยนตร์คนหนึ่งซึ่ง
คุณพ่อของเขา เป็นเพื่อนของฉัน
3.
The boy whose fater is in prison
is very intelligent.
เด็กชายที่พ่อเขาติดคุกนั้นเรียนเก่งมาก
4.
The man whose house was burgled won
the first prize of lottery.
ผู้ชายที่บ้านของเขาถูกขโมย
ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1

(4) which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรม
ของใจความขยาย ก็สามารถละทิ้งได้ เช่น


1.
This  is the house which, belong to
my sister.
นี้คือบ้านที่เป็นของพี่สาวของผม
2.
This is the car (which) my father bought
for 500,000 baht.
นี้คือรถยนต์คันที่คุณพ่อของผม ซื้อมาใน
ราคาห้าแสนบาท
3.
The basket which is on the table
is full of  rambutans.
ตระกร้าใบนี้ที่อยู่บนโต๊ะนั้นบรรจุ
เงาะเต็มเลย
4.
The shirt (which) I bought yesterday
is too small.
เสื้อตัวนี้ที่ผมซื้อเมื่อวานมันตัวเล็กเกินไป
5.
The snake which clept into a hole
is called "cobra"
งูตัวที่เลื้อยเข้าไปในรู เราเรียกว่า "งูเห่า"

(5) where ใช้กับคำนามประเภท สถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยาย
ก็สามารถละทิ้งได้
 เช่น

1.
That is the house ( where ) she lives.
นั่นคือบ้านที่เธออาศัยอยู่
2.
This is the place where is mortgaged.
นี่คือสถานที่ที่ถูกจำนอง
3.
The high buiding ( where ) he works
had a good security system.
ตึกที่สูงๆที่เขาทำงานอยู่มีระบบรักษาความ
ปลอดภัยที่ดี

(6) when ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายที่อยู่ข้างหน้าของมัน เช่น

1.
I can't remember the year
when I first met her.
ผมจำปีที่ผมพบเธอครั้งแรกไม่ได้
2.
She does not know the time
when her friend leaves for
Canada tomorrow.
เธอไม่รู้เวลาที่เพื่อนของเธอจะออกเดินทาง
ไปประเทศแคนาดาวันพรุ่งนี้
3.
The time when she gets up everyday is changed when she lives in Canada.
เวลาที่เธอตื่นนอนทุกวันเปลี่ยนไปเมื่อ
เธออยู่ประเทศแคนาดา

(7) why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย 
ซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน เช่น


1.
I would like to know the reason
why you are always late.
ผมอยากทราบเหตุผลว่าทำไมคุณ
ถึงมาสายประจำ
2.
Everyone is waiting for your explanationwhy you missede the whole classes
last week.
ทุกคนกำลังรอคำอธิบายจากคุณที่คุณ
ขาดเรียนไปทั้งอาทิตย์
3.
The police want to know the cause why
the house was burned.
ตำรวจต้องการทราบสาเหตุที่บ้านหลังนั้น
ถูกเผา

(8)  that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
สามารถใช้แทน who, whom, where, which
 ก็ได้ เช่น

1.
The robbers that robbed the bank last week
are arrested.
คนร้ายที่ปล้นธนาคารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ถูกจับได้แล้ว
2.
The pants ( that ) you are wearing are
very expensive
กางเกงขายาวตัวที่คุณกำลังสวมอยู่นั้น
ราคาแพงมาก
3.
The month that people send their
love cards and red roses is February.
เดือนที่คนส่งการ์ดความรักและกุหลาบแดง
คือเดือนกุมภาพันธ์
4.
The bird that is singing belong to me.
นกตัวที่กำลังร้องเพลงอยู่นั่นเป็นของผมเอง
5.
It is the place that I want to visit most.
มันคือสถานที่ที่ผมต้องการไปเที่ยวมากที่สุด
   
   การใช้ that ในลักษณะพิเศษหรือนอกเหนือจากกฎทั่วไป
     1. ใชักับสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะหรือไม่เจาะจง ( Indefinite Pronouns )
ซึ่งได้แก่ everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anybody, anything, onone, nobody, nothing เช่น

1.
Everyone that once sees Arpassara will be
charmed by her beauty.
ทุกคนที่ได้พบอาภัสราเพียงครั้งเดียวก็จะ
หลงเสน่ห์ความสวยของเธอ
2.
No one that loves me as much as
my parents.
ไม่มีใครรักผมเท่ากับพ่อแม่ของฉันเลย
3.
Everything that you have seen in
my house is precious.
ทุกสิ่งที่คุณได้เห็นในบ้านของฉันล้วน
มีค่าทั้งนั้น
   
    2. นิยมใชักับนามวลีที่มีโครงสร้างการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
และคุณศัพท์แสดงลำดับที่
 เช่น

1.
Suda is the most beautiful filmstar that
i have seen.
สุดดาเป็นดาราภาพยนตร์ที่สวยที่สุด
ที่ผมเคยเห็นมา
2.
He is the best man that I have known.
เขาเป็นคนที่ดีทึ่สุดเท่าที่ผมได้รู้จักมา
3.
Preecha was the second student thatreached the school yesterday.
ปรีชาเป็นนักเรียนคนที่สองที่มาถึง
โรงเรียนเมื่อวานนี้
4.
She was the secound employee that
was dismissed.
เธอเป็นพนักงานคนที่สองที่โดนไล่ออก

 

      การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในประโยค Adjective Clause
(Punctuation of Adjective Clause)

     1. อย่าใส่ความม่าหรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjecitve Clause นั้นจำเป็นต้องไปขยายนาม
ตัวนั้นๆโดยตรง คือจำเป็นต้องขยายนามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

     2. ให้ใส่คอมม่าหรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjective Clause นั้นให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่จำเป็นต้อง
ไปขยายนาม คือจะละ Adjective Clause ก็เข้าใจได้

ตัวอย่างเช่น

1.
The man who teaches English literatureis my brother.
ผู้ชายที่สอนวรรณคดีอังกฤษคนนั้น
เป็นพี่ชายผมเอง
2.
Mr.Prawit, who teaches English literature is my brother.
นาย (อาจารย์) ประวิทย์ที่สอนวรรณคดี
อังกฤษคนนั้นเป็นพี่ชายของผม
3.
Lampang, which consists of ten districts,is in the north of Thailand.
ลำปาง ซึ่งประกอบไปด้วย 10 อำเภอ
อยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย
4.
The man who(m) I met yesterday
teaches English.
ผู้ขายที่ฉันเห็นเมื่อวานสอนภาษาอังกฤษ
5.
Mr.Suchart, whom I met yesterday,
teaches English
คุณสุชาติที่ฉันเห็นเมื่อวานสอนภาษาอังกฤษ

*หมายเหตุ  เราจะไม่ใส่คอมม่ากับประพันธสรรพนาม that และ คอมม่า ( comma ) มักจะใช้กับภาษาเขียนมากกว่า

หลักการใช้ restrictive adjective clauseและ non-restrictive adjective clause
Restrictive และ non-restrictive adjective clause เป็นหลักการที่ใช้กับ relative pronoun เป็นส่วนใหญ่
1. Restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลักการใช้
     อย่างไร
    Restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ใช้ระบุคำนามหรือ
สรรพนามของประโยคหลักว่า เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด 
เช่น

    A man who moved in yesterday is our friend.
    ประโยคนี้ ‘who moved in yesterday’ คือ ‘restrictive adjective clause’ ที่
ใช้ระบุว่า ผู้ชายที่เป็นเพื่อนของเรา คือ คนที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ไม่ใช่คนที่ย้ายเข้ามาวัน
อื่น
หลักการใช้ restrictive adjective clause
    การใช้ restrictive adjective clause นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองว่า adjective 
clause ใดควรเป็น restrictive โดยมีหลักการดังนี้คือ
   1. ถ้าคนหรือสิ่งของที่เราจะนำเอา adjective clause มาขยายความนั้น มีหลายคน
หรือมีหลายสิ่ง จนอาจทำให้ผู้ที่รับสื่อจากเราไม่รู้ว่าเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เราก็จะใช้ restrictive adjective clause มาระบุ
    ดัง A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น แสดงว่า มีคน
ย้ายเข้ามาหลายคน แต่คนที่เป็นเพื่อนเราคือ ผู้ชายที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ผู้รับสื่อจากเราก็จะ
เข้าใจทันทีว่า ใครคือเพื่อนเรา
    2. Restrictive คือ adjective clause ที่ไม่มี comma (,) วางไว้หน้า restrictive adjective clause นั้นๆ เช่น A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น จะไม่มี comma (,) วางไว้หน้า who moved in yesterday
    Restrictive adjective clause เป็นภาษาของนักภาษาศาสตร์ ตำราบางเล่มเรียกเป็น
ชื่ออื่นๆอีกก็มี ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้เราจะเรียก restrictive ว่า ‘adjective clause ที่ไม่มีcomma (,) วางไว้ข้างหน้าก็ได้ครับ
    อนึ่ง อนุประโยคที่ผู้เขียนยกตัวอย่างไว้ข้างต้นทุกประโยคก็ล้วนแล้วแต่เป็น restrictive adjective clause ทั้งสิ้น
2. Non-restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลัก
     การใช้อย่างไร
    Non-restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเพิ่มข้อ
มูล
ให้กับคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก โดยคำนามหรือคำสรรพนามนี้เป็นที่รับ
รู้กันอยู่แล้วว่า เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใดเช่น 

    Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
    ประโยคนี้เราจะเห็นได้ว่า ‘who we have just met’ เป็น non-restrictive
adjective clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความ Mr. Pope เท่านั้น เพราะผู้รับสื่อ
จากเราทราบอยู่แล้วว่า Mr. Pope เป็นใคร
    และ non-restrictive จะเป็น adjective clause ที่มี comma (,) วางไว้ทั้งข้าง
หน้าและข้างหลังเพื่อให้แตกต่างจาก restrictive adjective clause อีกโสดหนึ่งด้วย
    อย่างไรก็ตาม non-restrictive adjective clause บางครั้งอาจมี comma (,) วาง
ไว้ข้างหน้าเท่านั้น ดังนี้
    The world number two badminton player is Ratchanok Intanon, who 
won World Cup Title at China Open
.
    และ non-restrictive นี้ เราไม่สามารถละ relative pronoun (who, which) ที่เป็นกรรมไว้ได้ ต้องใส่ไว้เสมอ เช่น ประโยค Mr. Pope, who we have just met, is a superstar. ข้างต้น เราต้องคง relative pronoun คือ who ซึ่งเป็นกรรมของ we have just met ไว้เสมอ จะไปตัดออกไม่ได้ 
Non-restrictive ไม่ใช้ that นำหน้า
    คำ relative pronoun ที่นำหน้า non-restrictive adjective clause เพื่อใช้ขยาย
ความคำนามของประโยคหลักนี้จะใช้ who กับ which เท่านั้น ไม่มีการใช้ that โดยเด็ด
ขาด ดังนี้
    Mr. Pope, that we have just met, is a superstar.

ข้อควรจำ: ผู้ใช้คือผู้กำหนดว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non-restrictive
    ท่านผู้อ่านอย่างลืมนะครับว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non- restrictive นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองตามหลักการใช้ที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 1 และ 2 ข้างต้น
ประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause
    ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause ดังต่อไปนี้ให้เข้าใจ
    –My new bike, which I bought last month, was stolen last night.
    –Bangkok, which is the capital of Thailand, is one of the most 
      famous mega city in the world.
    –He is the first Thai who climbed Mount Everest, which is the highest 
      mountain in the world.
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times, which was a 
      big hit in 2003.
    –Preechaya ‘Ice’, who played Jib in ATM Er Rak Error, majored in 
      Liberal Arts at Assumption University.
    –Nuengtida ‘Noona’, who played female leading role in Hello Stranger,
      is now studying at Thammasart University.
    –Keerati ‘Gypsy’, who graduated from Chulalongkorn University, acts 
      in Love Syndrome as female leading role.
    –Jarinporn ‘Toey’, who plays female leading role in Timeline, is a 
      graduate of Srinakarinwirot University.
    –The male reading role in Timeline goes to James Jirayu, who is 
      a first year student at Rangsit University.
    –Sumontip ‘Gupgip’, who is a law student at Ramkhamhaeng 
      University, is a supporting actress whose IG has almost eight 
      hundred thousand followers.
   
การใช้ non-restrictive adjective clause จะใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น ส่วน
ในภาษาพูดจะนิยมแยกเป็น 2 ประโยค ดังนี้
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times. The movie 
      was a big hit in 2003.
การใช้ non-restrictive กับ relative adverb
    บางครั้ง เราอาจนำหลักการของ non-restrictive adjective clause ที่ใช้กับ 
relative pronoun มาใช้กับ relative adverb ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับ where ดัง
ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
    –Put that book into the bookshelf, where it is.
    –This is the free English website, where you can learn English
      without any fee.
    –View of the Arena Corinthians in December, where the opening 
      match is due to be played. (BBC)
การลดรูป adjective clause
การลดรูป adjective clause
          คำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม  ดังนี้
          11.5.1 Appositive Noun Phrase  
          11.5.2 Prepositional Phrase
          11.5.3 Infinitive Phrase
          11.5.4 Participial Phrase
       11.5.1 Appositive Noun Phrase
                     adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้
          หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนาม
          ที่เรียกว่า appositive ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
Prof. Chakarin, who is my thesis adviser , will retire next year.
Prof. Chakarin, who is my thesis adviser , will retire next year.

Prof. Chakarin, my thesis adviser , will retire next year.
His novel, which is entitled Behind the Picture , is very popular.
His novel, which is entitled Behind the Picture , is very popular.

His novel, Behind the Picture , is very popular.

11.5.2 Prepositional Phrase
                     adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who,
          which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม
          ให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
The lady who is dressed in the national costumeis a beauty queen.
The lady who is dressed in the national costumeis a beauty queen. 
The lady in the national costume is a beauty queen.
ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume
The football player who came from Brazilreceived a warm welcome from his fans in Thailand.
The football player who came from Brazilreceived a warm welcome from his fans in Thailand.
The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.
ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil

11.5.3 Infinitive Phrase
                     adjective clause ที่มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป
          BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday .
He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday .

He is the first person to be blamed for the violence yesterday.
The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis.
The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis.
The researcher did not provide the specific statistics used to test the hypothesis .

The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis .
11.5.4 Participial Phrase
                     1) Present Participial Phrase
                     adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน   สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูป
          โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
The school students who visited the national museum were very excited.
The school students who visited the national museum were very excited.

The school students visiting the national museumwere very excited.
The two robbers who had escaped to Cambodiawere arrested a week ago.
The two robbers who had escaped to Cambodiawere arrested a week ago.

The two robbers having escaped to Cambodiawere arrested a week ago.
The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

The earthquake victims having been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.

                     2) Past Participial Phrase
                     adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ
          who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก
          เหลือแต่ past participle ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase 
The money which was lost during the trip was returned to its owner.
The money which was lost during the trip was returned to its owner.

The money lost during the trip was returned to its owner.
His father, who was sent by his company to New Zealand , developed lung cancer.
His father , who was sent by his company to New Zealand , developed lung cancer.

His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.

                     อย่างไรก็ตาม ทั้ง present participial phrase และ past participial phrase สามารถ
          ขยายนามโดยนำมาวางไว้หน้าคำนามได้ ดังนี้
                     Thailand is a country which exports rice .
                     Thailand is a rice-exporting country.
  
                     Passengers have to wait for trains which come late .
                     Passengers have to wait for late-coming trains.

                     This blouse which was made by hand is very expensive.
                     This hand-made blouse is very expensive.

                     The chairs which were slightly damaged were sent for repair.
                  The slightly damage chairs were sent for repair.
      
                ภาษาที่ใช้ในการทำงานในอนาคตไม่ว่าจะเป็นประชาคมอาเซียนหรือการทำงานในองค์กรต่างๆ ในต่างประเทศ คงนี้ไม่พ้นคือภาษาอังกฤษเพราะในปัจจุบันนี้มีการสื่อสารหลายช่องทางเป็นอย่างมาก การเรียนรู้ไวยากรณ์ถือเป็นเรื่องสำคัญของการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ นอกจากเรียนรู้เรื่อง Tenseแล้วการเขียนประโยคหรือ sentenceก็มีความสำคัญและมีความจำเป็นมากเหมือนกัน เพราะถึงแม้ว่าจะรู้หลักไวยากรณ์แล้วก็ตามแต่ยังเขียนเป็นประโยคไม่ได้จึงต้องมีการศึกษาเพื่อที่จะได้มีการสื่อสารกันในอนาคตไม่เกิดปัญหาและบรรลุเป้าหมาย









0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates