วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log Third (18th August ,2015 )

Learning log
Third : (18th August, 2015)

ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาหรือด้านการธุรกิจ ไม่ใช่แค่ว่าเราสามารถจะสื่อสารได้แล้ว คือเราสามารถฟังได้ พูดได้ เห็นผลแค่นั้นคงไม่เพียงพอเพราะหากมีการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรยิ่งมีความสำคัญยิ่ง มีหนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้และถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากคือเรื่อง tense และtense มันจะมีความต่างประโยคของภาษาไทยเป็นอย่างมาก วันนี้ดิฉันเลยเลือกศึกษาtenseทั้ง12tense อีกครั้งเพื่อจะได้เน้นย้ำและไม่มีความผิดในเวลาเรียน
Tenses
                Tense แปลว่า กาล หมายถึง การเรียนรู้รูปแบบของคำกริยา ที่ไปแสดงถึงเหตุการณ์ หรือ การกระทำต่างๆว่าได้เกิดขึ้นแล้ว กำลังเกิดขึ้นอยู่ หรือว่ายังไม่ทันเกิดขึ้น ปละจบลงต่างกรรมต่างวาระกันอย่างไร ที่ไหน เมื่อไร
Tense แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Present Tense = ปัจจุบันกาล
2. Past Tense = อดีตกาล
3. Future Tense = อนาคตกาล
Tense ที่กล่าวมานี้ยังแบ่งเป็น Tenses ย่อยๆได้อีก คือ Present Tenses แบ่งย่อยได้ 4ชนิด Past Tenses แบ่งย่อยได้อีก 4ชนิด และ Future Tenses ก็แบ่งย่อยได้อีก 4 ชนิดเหมือนกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. Present Tenses = ปัจจุบันกาล
                1. Present Simple Tense = ปัจจุบันธรรมดา
                2. Present Continuous Tense = ปัจจุบันกำลังกระทำ
                3. Present Perfect Tense = ปัจจุบันสมบูรณ์
                4. Present Perfect Continuous Tense = ปัจจุบันสมบูรณ์กำลังกระทำ
2. Past Tenses = อดีตกาล
                1. Past Simple Tense = อดีตง่ายๆธรรมดา
                2. Past Continuous Tense = อดีตกำลังกระทำ
                3. Past Perfect Tense = อดีตสมบูรณ์
                4. Past Perfect Continuous Tense = อดีตสมบูรณ์กำลังกระทำ
3. Future Tense = อนาคตกาล
                1. Future Simple Tense =อนาคตง่ายๆธรรมดา
                2. Future Continuous Tense = อนาคตกำลังกระทำ
                3.FuturePerfect Tense = อนาคตสมบูรณ์
                4. Future Perfect Continuous Tense =อนาคตสมบูรณ์กำลังกระทำ
โครงสร้างของ Tenses 12 Tenses
Tense
Structure
Present
Simple Tense
S + V1 [ s , es ]

Continuous Tense
S + is , am , are + V.ing

Perfect Tense
S + has , have + V3

Perfect Continuous Tense
S + has , have + been + V.ing
Past
Simple Tense
S + V2

Continuous Tense
S + was , were + V.ing

Perfect Tense
S + had + V3

Perfect Continuous Tense
S + had been + V.ing
Future
Simple Tense
S + will , shall + V1

Continuous Tense
S + will , shall + be + V.ing

Perfect Tense
S + will , shall + have + V3

Perfect Continuous Tense
S + will , shall + have been + V.ing

ตัวอย่างประโยคสำเร็จของ Tenses 12 Tenses
Present  Simple Tense =  I go. / He sits.
Present  Continuous Tense=  I am going. / He is sitting.
Present  Perfect Tense=  I have gone. / He has sat.
Present  Perfect Continuous Tense=  I have been going. / He has been siiting.
Past        Simple Tense=  I went. / He sat.
Past        Continuous Tense=  I was going. / He was sitting.
Past        Perfect Tense=  I had gone. / He had sat.
Past        Perfect Continuous Tense=  I had been going. / He had been sitting.
Future    Simple Tense=  I shall go. / He will sit.
Future    Continuous Tense=  I shall be going. / He will be sitting.
Future    Perfect Tense=  I shall have gone. / He will have sat.
Future    Perfect Continuous Tense=  I shall have been going. / He will have been sitting.

Present Simple Tense
Present  Simple Tense      S + V1 [ s , es ]
เช่น        He gets up early.
                I get up early.
                The boys get  up early.
การเติม s ที่กริยาเมื่อประธานเป็นเอกพจน์
                1. กริยาที่ลงท้ายด้วย s ,ss , sh , ch , o และ x ให้เติม e เสียก่อนแล้วจึงเติม s เช่น
                                Pass  =  passes
                                Brush  = brushes
                                Catch = catches
                                Go = goes
                                Box = boxes
                2. กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยนyเป็น ieแล้วจึงเติม s เช่น
                                Cry = cries
                                Carry = carris
                                Fly = flies
                                Try = tries
                *ถ้าหน้า y นั้นเป็นสระไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น ieให้เติม s ได้เลย เช่น
                                Play = plays
                                Destroy = destroys
หลักการใช้ Present Simple Tense
                1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ (general truth หรือ eternal truth )เช่น
                                The sun rises in the east.
                                The earth rotates on its axits.
                                It’s cold in winter.
                                Fish swim in the water.
                2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นประเพณี นิสัย สุภาษิต ซึ่งได้บ่งเฉพาะเจาะจงว่าเวลาใด เช่น
                                Actions speak lounder than words.
                                Women are dressed all in black when going to the funeral.
                                That men speaks English as well as he speaks his own language.
                                Diligence is the way of success.
                                An intelligent boy makes a nation developed.
                3. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะพูด เช่น
                                I have two books in the suitcase.
Susan us my close friend.
                4.ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น (นิยมใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) โดยมักจะคำวิเศษณ์ที่บอกเวลาเป็นอนาคตอยู่ในประโยคนั้นๆด้วย เช่น
                                She goes to Japan on the morning flight tomorrow.
                                The ship leaves for Phuket at 8.00 in the morning.
                                The plaine arrives in Bangkok early morning tomorrow.
                                She reaches Hong Kong on Wednesday morning.
5.ใช้กับเหตุการณ์ในประโยค subordinate clauseที่บ่งบอกเวลาเป็นอนาคต ซึ่งประโยคขึ้นต้นด้วยsubordinate clauseจะขึ้นต้นด้วย If, When, whenever, unless, until, till , as soon as, while, before, after, as long as  เช่น
                When she speaks English, everybody will  laugh at her.
                If it rains a lot in Bangkok it flood.
                While he plays football, he will do the best.
6. ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามา แม้เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อให้เรื่องมีชีวิตชีวา เหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน นิยมใช้ในการเขียนนิยาย บทละคร 
7. การกระทำของกริยาที่ไม่สามารถแสดงอาการให้เห็นได้ เช่น การนึกคิด การรับรู้ ภาวะจิตใจ ความเป็นเจ้าของ เช่น
 loves her husband very much.
He knows about how to open the can.
8). ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นประจำ Repeated Action หรือเป็นนิสัยเคยชิน Habitual Action and States การใช้ในกรณีเช่นนี้ มักจะมีคำหรือกลุ่มคำหรืออนุประโยค ซึ่งมีความหมายว่า บ่อยๆเสมอๆทุกๆ...รวมอยู่ด้วย


คำ (word)                                             กลุ่มคำ (phrase                                    ประโยค (clause)
Always                                                  everybody                                            whenever he sees me
Often                                                     every week                                           whenever he comes here
Sometimes                                           every month                                        every time he sees me

Present Continuous Tense
S + is , am , are + V.ing
เช่น He is speaking.
      I am writing.
     They  are writing.
หลักเกณฑ์ การเติม – ing ที่ท้ายกริยามี ดังนี้
1.กริยาที่ลงท้ายด้วย e กรณีไม่ออกเสียงตัว e ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อน แล้วจึงเติม – ingเช่น
write         -   writing           
move       -    moving
live           -    living
take          -   taking
                                2.กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม –ing ได้เลย
                                See         -  seeing
                                Agree     -  agreeing
                                Free        -  freeing
                3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y ก่อน แล้วจึงเติม –ing
                                Die         -  dying
                                Lie          -  lying
                                Tie          -  tying
                4.  กริยาที่มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว และเป็นพยางค์เดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม   –ing     
                                Stop       -  stopping
                                Run        -  running
                                Sit           -  sitting
5.  คำที่มี 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนัก stress ที่พยางค์หลัง และพยางค์หลังมีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีก  1 ตัว ก่อนแล้วจึงเติม – ing
                Begin     -  beginning
                Occur     -  occurring
6. คำกริยา 2 พยางค์ ต่อไปนี้ จะเพิ่มตัวสะกดเข้ามาแล้วจึงเติม – ing หรือจะเติมเลยเช่น
                Travel                    - travelling , traveling
                Quarrel  - Quarrelling , Quarreling
หลักการใช้ Present Continuous Tense
                1.ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูดและมักจะมีคำวิเศษณ์ (Adverb) now, at the present, at this  moment, at the present time, these days
                                I am working with this company these days.
                                At the present time he is staying at the hotel.
                2.ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งในขณะที่พูดประโยคนี้ออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งนั้นอยู่ก็ได้ แต่ในช่วงเวลาอันยาวจะทำสิ่งนั้นอยู่จริงๆ และมักมีคำบอกเวลาระยะยาวมากำกับไว้ ได้แก่ this week, this month, this year, etc.
                                My son is working hard this term.
                                He is working with the Siam Motors Co.,Ltd. This year.
                3. ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่ มักใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่,เคลื่อนไหว และจะมีคำบอกเวลาเป็นอนาคตมาก่อนเสมอ
                                I am going to Singapore on Friday.
                                Preecha is coming here soon.
                4.ถ้าประโยค Present Continuous Tense เชื่อมด้วย **and  (กรณีเป็น 2 ประโยค) **ให้ตัดกริยา Verb to be ที่อยู่หลังand ออก
The old man is smoking a cigarette and reading the newspaper.
กริยาที่นำมาแต่งเป็น Continuous Tense ไม่ได้ คือ

1. กริยาที่แสดงการรับรู้ (Verb of Perception) จะไม่นิยมนำมาแต่งใน Present Continuous Tense ได้แก่
see          hear           feel          taste        smell         etc.
2 . กริยาที่แสดงภาวะของจิต (State of Mind) แสดงความรู้สึก (felling)แสดงความผูกพัน (Relationship)
                                                 know         love         understand     hate       believe         seem         like       etc.

Present Perfect Tense
S + has , have + V3
เช่น  He has spoken.
                I have spoken.
                You have spoken.
รูปของกริยาช่องที่3
1.มีรูปโดยการเติม –ed ที่ท้ายกริยา  เช่น
ช่องที่ 1                                                        ช่องที่ 2                                                            ช่องที่ 3
               open                                                             opened                                                             opened
                walk                                                              walked                                                            walked
                work                                                                        worked                                                                    worked
2. มีรูปมาโดยการผันรูป  เช่น
                ช่องที่ 1                                                    ช่องที่ 2                                                     ช่องที่ 3
        is, am, are                                                   was, were                                                   been
        see                                                                                saw                                                            seen
        go                                                                               went                                                           gone
        think                                                            thought                                                      thought       etc.
หลักการใช้  Present Perfect Tense    
1.ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และเหตุการณ์นั้นยังคงต่อเนื่องมาถึงเวลาปัจจุบัน ซึ่งมักจะมี Adverb เหล่านี้ คือ since, for, so far, up to now มาร่วมแสดงเวลาเสมอ
Bill has lived in New York since 1975.
หลักการใช้ since และ  for
   since กับ for มักใช้กับ present perfect tense โดยที่จะต่ออยู่ส่วนท้ายของประโยคเพื่อบอกว่าการกระทำ หรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด หรือเกิดขึ้นมานานเป็นเวลาเท่าใดแล้ว

Since
          1. ใช้กับ present perfect (has, have +v.3) แปลว่าตั้งแต่ ต่อด้วยจุดเริ่มต้นของเวลา เช่น She has worked here since 1999.
          2. Since บวกประโยคแปลว่า  เพราะว่า ใช้เหมือน because
              - I cannot go to class because/since/for/as it is raining.
          3. ใช้ since(ตั้งแต่) เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ อาจบอกเป็นปี เป็นเดือน ฯ เช่น 1990, last month, two years ago เป็นต้น
              ตัวอย่างประโยค I have been in Chiangmai since 2009.(ฉันอยู่เชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2009)
For
          1. แปลว่าสำหรับ เช่น for me
          2.ใช้กับ present perfect บอกช่วงเวลา เช่น She has worked here for ten years.
          3. For บวกประโยคแปลว่าเพราะว่า ใช้เหมือน because และ since เช่น I cannot go to class because/since/for/as it is raining.
          4. ใช้ for (เป็นเวลา) เพื่อบอกว่าเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นมาเป็นเวลาเท่าใดแล้ว เช่น 2 days, 3 hours, 10 years เป็นต้น
               ตัวอย่างประโยค I have been in Chiangmai for 3 years. (ฉันอยู่เชียงใหม่มา 3 ปีแล้ว)
2.ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้ทำซ้ำๆ เป็นหลายครั้งหลายหนในอดีต และเหตุการณ์ที่ว่านี้อาจจะทำอีกต่อไปในอนาคต แต่ไม่บอกว่า ทำเมื่อไร เป็นเวลาเท่าไหร่ มักจะมีคำ Adverb  เช่น many time, several time, over and over มากำกับเสมอ เช่น
                I have used this razor blade only three times; it is still good.
3. ใช้กับเหตุการณ์ที่เคยหรือไม่เคยทำในอดีต ซึ่งมิได้บ่งบอกเวลาที่แน่นอนเอาไว้ และมักมีคำ Adverb คือ ever, never, once. twice  มาใช้ร่วมเสมอ เช่น
                Have you ever seen a king cobra?
4.ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นหรือกระทำไปแล้ว แต่ผลของการกระทำนั้นยังประทับใจผู้พูดอยู่ ใช้Present Perfect Tense   ได้ เช่น
                I have turned on the light.
5. ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเสร็จสิ้นจบลงไปใหม่ๆ โดยเวลาไม่นาน ซึ่งจะมี Adverb ต่อไปนี้มาร่วมเสมอ ได้แก่already, just, yet, finally, eventually, recently เช่น
                I have already read this book.

การใช้ yet, just และ already
 yet : ใช้ในประโยคปฏิเสธ และนิยมวางไว้ท้ายประโยค
He has not died yet.
  just, already : ใช้ในประโยคบอกเล่า และจะวางไว้หน้ากริยาหลักเสมอ เช่น
                                He has just finished his work.
Present Perfect Continuous Tense
Subject + have, has + been + Verb 1 เติม –ing
เช่น I have been speaking.
    You have been speaking.
    They have been speaking.
หลักการใช้  Present Perfect Continuous Tense  
Present Perfect Continuous Tense  ใช้กับการกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และก็คงจะดำเนินต่อไป
I have been working for three hours.
She has been studying in a university since 1996.
อย่างไรก็ตามTense นี้ก็ไม่ค่อยใช้บ่อยนัก ส่วนมากนิยมใช้ Present Perfect Tense    มากกว่าโดยเฉพาะกริยาที่มีความหมายเป็นการกระทำที่ไม่นาน ไม่ควรนำมาแต่งด้วย Present Perfect Continuous Tense ต้องเป็น verb ที่มีความหมายกระทำได้นาน
Past Simple Tense
S + V2
เช่น I spoke.
       He spoke.
       They spoke.

หลักเกณฑ์การเติม ed ที่คำกริยามี
1.กริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้ว ให้เติม d ได้เลย เช่น
                                             love     -     loved
                                             move   -     moved
                                             realize   -    realized        
2. กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วจึงเติม ed เช่น
                                cry      -     cried                                   
carry    -      carried    
 rely     -      relied     
3. กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย เช่น
                               play     -      played
                               obey    -      obeyed
หลักการใช้ Past Simple Tense   
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และก็จบลงไปแล้วในอดีต ก่อนที่จะพูดประโยคนี้ออกมา ในกรณีเช่นนี้มักจะมีคำ กลุ่มคำ หรืออนุประโยค ที่แสดงความเป็นอดีตมากำกับไว้เสมอ ได้แก่
คำ (word)                                             กลุ่มคำ (phrase                                    ประโยค (clause)
ago                                                         last night                                               When he was young
once                                                       last week                                               When he was fifteen
yesterday                                              last year                                                                After he had gone
He  learned English when he was young.
2.ใช้กับการกระทำซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่ปัจจุบันมิได้กระทำการณ์นั้นอีกแล้ว ในกรณีนี้จะมี Adverb บอกความถี่บ่อยๆ มาร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตแน่นอนมากำกับไว้ เช่น
She walked to school every day last week.
3.ใช้กับการกระทำในอดีต แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์ กรณีนี้ verb ทุกตัวต้องเป็น Past Simple Tense ตลอดไป เช่น
He jumped out of the house, saw a policeman and run away.
4.ใช้กับกริยาในรูปประโยคที่อยู่หลังสำนวนต่อไปนี้
  I would rather + Past Simple Tense
  It’s time + Past Simple Tense
  It’s high time + Past Simple Tense
I would rather you did your homework.
It’s time the children went to bed.

Past Continuous Tense
S + was , were + V.ing
เช่น         He was writing.
                I was reading.
                They were waiting.
หลักการใช้  Past Continuous Tense 
1ใช้กับเหตุการณ์  2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต คือ มีเหตุการณ์อันหนึ่งเกิดขึ้นและกำลังดำเนินไปอยู่ก่อนและก็มีเหตุการณ์อันที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันสั้นๆเกิดแทรกเข้ามา โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้
·        เหตุการณ์ใดเกิดก่อนใช้   Past Continuous Tense
·       เหตุการณ์ใดเกิดที่หลังใช้  Past Simple Tense        
While Suchart was walking along the street, he saw a filmstar.        
2.ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่าง ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ หรือกำลังดำเนินอยู่พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ในอดีต ความนัยนี้ทุกเหตุการณ์ต้องใช้ Past Continuous Tenseทั้งคู่ เช่น
My mother was cooking while I was playing.
3.ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังดำเนินอยู่ ณ เวลาจุดใดจุดหนึ่งในอดีต ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจน  เช่น
They were cleaning the room at eight o’clock yesterday.
Past Perfect Tense
S + had + V3
เช่น        He had gone.
                I had worked.
                They had gone.
หลักการใช้ Past Perfect Tense 
1.ใช้กับเหตุการณ์  2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต และสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีต โดยเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งมีหลักการแต่ง ดังนี้
เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนใช้ Past Perfect Tense (Subject  +  had  +  Verb ช่องที่ 3)
เหตุการณ์ใดเกิดที่หลังใช้ Past Simple Tense (Subject + Verb 2)
We went out for a walk after we had eaten dinner.
               Anong had learnt English before she went to England.
2.ใช้ Past Perfect Tense ใน Clause ที่ตามหลัง I wish ซึ่งเป็นประโยคแสดงความปรารถนาในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต  เช่น
 ความจริงที่เป็นอยู่   -  I was born in a poor family.
ปรารถนาใหม่   -  I wish I had been born in a rich family.
Past Perfect Continuous Tense
S + had been + V.ing
เช่น        He had been working.
                I had been working.
                You had been staying.
หลักการใช้  Past Perfect Continuous Tense 
                1.ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีตเช่นเดียวกัน Past Perfect เพียงแต่ใช้ Past Perfect Continuous เพื่อเน้นย้ำถึงความต่อเนื่องของเหตุการณ์ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ที่2แทรกเข้ามาซึ่งเราใช้ Past Simple Tense
                Pornpan had been working for 2 hours when I called her.
                2.ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต
                He had been working hard for month.
Future Simple Tense
S + will , shall + V1
เช่น        I shall go.
                You will go.
                We shall go.
หลักการใช้  Future Simple Tense 
1.ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะที่พูดนี้เหตุการณ์หรือการกระทำนั้นยังไม่ทันเกิดขึ้น และมักจะมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่เป็นอนาคตมาร่วมเสมอ ได้แก่ soon, shortly, in a short time, in a moment, in a while, in a week’s time, in two days’ time, etc.
shall go to the United States soon.
2.ประโยคแสดงอนาคตที่มีกริยา  2 ตัว ให้ใช้ Future Simple Tense กับกริยาเพียงตัวเดียว ส่วนอีกตัวหนึ่ง (คือประโยคที่อยู่หลังคำเชื่อม) ให้ใช้ Present Simple Tense หรือ Present Perfect Tense กริยาใช้ Future Simple Tense คือกริยาที่อยู่หน้าคำเชื่อมและคำเชื่อมที่นำมาใช้ได้แก่if, unless, when, until, as soon as, before, after, the moment that, by the time that, now that etc.
I shall go if you ask.
การใช้ (be) going to แทน wil, shall 
               1.ใช้ (be) going to +Verb 1 เพื่อแสดงความตั้งใจแทน will, shall ได้   เช่น
Sak is going to sell his car next month.
2.ใช้ (be) going to +Verb 1  เพื่อแสดงการคาดคะเน แทน will, shall ได้  เช่น
               I think it is going to rain.
3.ใช้ (be) going to +Verb 1  เพื่อแสดงข้อความซึ่งเชื่อว่าเป็นจริงเช่นนั้น โดยปราศจากข้อสงสัยแทน will, shall เช่น
My wife is going to have a baby.
ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall   ในกรณีต่อไปนี้
1.เหตุการณ์ที่เป็นอนาคตอันแท้จริง ซึ่งถ้าต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่สามารถใช้ (be) going toแทน   will, shall     ได้    เช่น
Today is the 21st : tomorrow will be the 22nd .
 2.ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall ในประโยคเงื่อนไขที่เชื่อมด้วย  if     
shall do this for you if you give me twenty baht.    
3.ห้ามใช้  (be) going to แทน   will, shall กับกริยาแสดงการรับรู้ Verb แสดงการรับรู้ ได้แก่ know, understand, remember, forget, live , love, etc. 
 I will understand what you said.
การใช้ (be) going to ในประโยคแสดงอดีตกาล       
คือ       was,were + going to + Verb 1
เพื่อแสดงว่าการกระทำนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเลย
We were going to play tennis yesterday, but it rained.
Will ใช้กับ I และ we  เป็น
1.เป็นการแสดงความตั้งใจจริงของผู้พูด เช่น
I will try again this year.
2. เป็นการให้สัญญาของผู้พูด   เช่น
I will marry you next year.

Future Continuous Tense
S + will , shall + be + V.ing
เช่น                I shall be working.
        You will be learning.
        หลักการใช้    Future Continuous Tense   
1.ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นก่อน  หลัง กันในอนาคต โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้ 
               เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนใช้       Future Continuous Tense  
               ( Subject + will,shall + be + Verb 1 เติม -ing   )
               เหตุการณ์ที่ทำทีหลังหรือเกิดขึ้นทีหลังใช้  Present Simple Tense
                         (Subject  +  Verb 1 )         
He will be sleeping when I visit him.
2.  ใช้กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ตามเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่น
            We shall be working all day tomorrow.
Future Perfect Tense
S + will , shall + have + V3
เช่น        I shall have gone.
They will have gone.
หลักการใช้  Future Perfect Tense 
1.กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต ซึ่งขณะที่พูดเป็นเพียงการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าถึงตอนนั้นแล้ว เหตุการณ์อันหนึ่งจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ก่อนแล้ว จึงมีเหตุการณ์อันที่ 2 เกิดขึ้นตามมา โดยมีหลักการแต่งประโยค ดังนี้
·      เหตุการณ์ใดเกิดก่อนใช้ Future Perfect Tense
(S + will, shall + have + V.3)
 ·       เหตุการณ์ใดเกิดทีหลังใช้ Present Simple Tense
             (S + Verb 1)                        
He will have left home when the mail arrives tomorrow. 
2.ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ณ เวลาใดเวลาหนึ่งตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในประโยค และคำหรือกลุ่มคำที่นำมาใช้ร่วม จะนำหน้าด้วยบุรพบท “by” เสมอ เช่น  by tomorrow, by next week, etc. เช่น
I shall have finished my work by dinner time.
3. ใช้เพื่อแสดงความสงสัยว่า คงจะอย่างนั้น อย่างนี้แล้วก็ได้”     เช่น
I expect you will have heard that Ladda is going to be married next month.
     
Future Perfect Continuous Tense
S + will , shall + have been + V.ing
เช่น        I shall have been working.
                You will have been sitting.
หลักการใช้  Future Perfect Continuous Tense 
1.             Future Perfect Continuous Tense มีวิธีใช้เช่นเดียวกับ Future Perfect Tense แต่ต่างกันตรงที่ใช้tenseนี้เพื่อเน้นถึงการกระทำต่อเนื่องของการกระทำว่าได้ดำเนินต่อเนื่องกันแม้เมื่อถึงเวลานั้นกระทำยังคงดำเนินอยู่และดำเนินต่อไปมิได้หยุดเช่น
By eleven o’clock I shall have been working for three hours.

เนื่องจากคนไทยจะติดภาษาแม่เป็นหลัก การศึกษาเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงมีความสับสนเป็นอย่างมากและจะเห็นได้ว่า tense ในภาษาอังกฤษและประโยคหรือโครงสร้างของภาษาไทยมีความแตกต่างโดยชัดเจนการศึกษาเรื่องtense จึงมีความสำคัญยิ่งเพราะในภาษาไทยนั้นไม่ได้มีเจาะจงเรื่องไวยากรณ์ คนไทยจึงเป็นปัญหาอย่างหนักระหว่างการเอาภาษาแม่คือภาษาไทยไปใช้ร่วมกับภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นยิ่งที่จะต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้ทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ


   




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates