วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log (29th October, 2015 - 30th October, 2015 )

Learning log
(29th October, 2015 - 30th  October, 2015  )
"สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ"

                การศึกษาในโลกแห่งศตวรรษที่21 มีการเปลี่ยนแปลงไปมากเป็นการศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความสามารถและพัฒนาศักยภาพของตน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนตามความสนใจ  อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียน คิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้ได้ ดังนั้น ครูจึงทำหน้าที่ได้หลายบทบาทในขณะเดียวกันไม่ว่าเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้จัดการและเป็นแม้กระทั่งวาทกร ผู้ซิ่งจะต้องรู้ทันมีความฉับไว และต้องเป็นผู้ที่เตรียมพร้อมเสมอที่จะปรับเปลี่ยนลีลาการตนให้สอดคล้องต่อลีลาของการเรียนรู้ของผู้เรียนและสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีในการเรียนรู้วิชาภาอังกฤษคือ   ติดควรทงปัญญา ผู้เรียนจะต้องมีการสนใจ ใฝ่ถาม จำจด ปฏิบัติได้ ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้ผู้เรียน เรียนแล้วประสบความสำเร็จ
          สำหรับในการเข้าอบรมในภาคเช้าของวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม พ..2558 ได้มีการเสวนากันในเรื่อง Beyoud lavgyage learning ระหว่าง ดร. สุจินต์ หนูแก้ว และ อ. สุนทร บุญแก้ว โดยมี       ดร. ประกาศิตเป็นผุ้ดำเนินรายการ ซึ่ง ดร.ประกาสิต ได้กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารและศึกษาในโลกและชีวิตประจำวัน โดยผู้เรียนจะต้องมี 5c ด้วยกันคือ c –communication,c-culture, c- connection (เพื่อเชื่อมโยงกับวิชาอื่น) , c-conparison และ c- communitive shill
         สำหรับทางด้าน อ. สุจินต์ หนูแก้ว ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าคนในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีคุณลักษณะจำเป็น 7c ความสามารถพื้นฐานจำเป็น 3 ประการ คือ การอ่าน การเรียน และการคิดคำนวณ เพราะ ในทุกวันนี้ทุกคนได้รับข้อมูลผ่านการอ่านแต่ผู้เรียนยุคใหม่ขาดการคิดวิเคราะห์ จึงมีสิ่งที่ต้องพัฒนาคือ Thinkiug shill และคุณลักษณะจำเป็น7c คือ c-critical thirluing problem solving , c-creatirity innovation (การสร้างสรรค์พัฒนา) c-cuitical+ clause cultural (คืการข้ามวัฒนธรรมต้องมีการ contact หลายๆวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน),c-colloboration teamwork relationship,c- communication information medialiteracy,c-computing และ c-carea leaming skill และ ผ่าน อ.สุจินต์ยังกล่าวต่ออีกว่าทักษะการวิเคราะห์มาจาก Blean คือ ขั้น่ำสุดคือความจำ ขั้น คือ ความเข้าใจ ขั้น 3 การนำไปใช้ ขั้น 4 คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าและลูกศิษย์ Bloom ได้บอกต่อว่า การประเมินค่าไม่ใช่ขั้นสูงสุด แต่ขั้นสูงสุดคือ create สร้างสรรค์เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต้องประเมินค่าได้ และการเตรียมข้อมูลมา create ได้ และส่วนทางด้านอ.สุนทร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเด็กไทยในสมัยนี้ ไม่รู้ว่าเรียนภาษาอังกฤษไปเพื่ออะไรและกระบวนการวิธีการจะนำไปสู่เป้าหมายการทำอย่งไร และสภาพแวดล้อมก็ยังไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ภาษาและท่านยังได้กล่าวเสริมว่าสำหรับกระบวนการ วิธีการ จะนำไปสู่เป้าหมาย ควรจะต้องมี CLT คือ English proficiency certain vocabulary และสำหรับสภาพแวดล้อม จะต้องwell contlie evaluate ไม่ใช่เพียงแค่ Lerrniug the  Language ต้องใช้ได้จริงไม่ใช่แค่ได้แต่ตัวภาษาและต่อไปนี้ คือ อ.สุจินต์ยังกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคิดว่า การคิดมันจะ abstract จึงจำเป็นต้องเกิดคือ การแยกแยะระหว่าง analyzing และ analylical  thinking ซึ่งทั้ง 2 คือ การคิดวิเคราะห์ แต่แตกต่างกันคือ analyzing  thinking  คือ ความในการเรียนรู้ระดับ 4  ที่วิเคราะห์ออกมา ที่ใน analyzing  thinking  คือ การคิดวิเคราะห์ เอาสิ่งที่วิเคราะห์ไปสู่การแก้ปัญหา สำหรับ การวิเคราะห์แล้ว ช่วยผู้เรียนนั้นจะต้อง  integreat เข้าไปในห้องเรียน และมีสื่อให้เด็กได้ practice และในการวิเคราะห์จะต้องมี 3 ข้อย่อย ที่จะมาบูรณาการในการเรียน คือ 1. การจำแนก   2 . เอาสิ่งที่จำแนกมาจัดกลุ่ม    3.  การเชื่อมโยงความสัมพันธ์  ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือ PBL-Problem  Base  Learning  คือ การฝึกการเรียนผ่านการคิด
                ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า มนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะคิด การดำเนินชีวิต และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการคิดที่มีคุณภาพ ดังนั้นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กจึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อีกทั้งยังมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ สิ่งที่ดิฉันได้รับจากการเข้าอบรมในวันพฤหัสบดีภาคเช้า
Learning log
(29th October, 2015 - 30th  October, 2015  )
"สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ"
                ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นภาษาสากลที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาให้แก่บุคคลทั่วไปในสังคมจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับต่างประเทศแล้วยังมีส่วนช่วยทำให้มีความเข้าใจในสังคมตะวันตกอีกด้วย
                สำหรับการอบรมในช่วงภาคบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.. 2558 ท่านวิทยากร คือ ท่าน  ผศ. ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ได้อบรมเกี่ยวกับ ภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม โดยท่านเริ่มพูดประเด็นเกี่ยวกับ 10 ภาษา ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก world’ Top Language ซึ่งภาษาแรก คือ Mandarin  ภาษาที่ 2 คือ Hindi / Urdu  ภาษาที่ 3 คือ Spanish   ภาษาที่ 4 คือ  English   ภาษาที่ 5 คือ Arabic   ภาษาที่ 6 คือ Protuguses   ภาษาที่ 7 คือ Bengali  ภาษาที่ 8 คือ Pussain  ภาษาที่ 9 คือ Japanese และภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 10 คือ  Punjabi และเมื่อได้รู้เกี่ยวกับภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดแล้วยังได้รู้เกี่ยวกับการพูดคำศัพท์ที่คนไทยมาพูดทับศัพท์ อาทิ เช่น  Chill  Chill  ชิลชิล  ซึ่งมาจาก Chill out – Sit chill chill  คำต่อไป คือ  Out เอาท์ ซึ่งมาจาก out of – You are out คือ ตก       เทรนด์  คำต่อไป คือ over – She is over ซึ่งมาจาก  she over the top  คำต่อไป คือ Jam  ซึ่งมาจากคำว่า join – I will jam you .   คำต่อไป คือ  back  He  has   a  good back  และคำต่อไป คือ noy – I  noy และสิ่งที่ได้รู้อีกคือ  คำติดปากมาช้านาน ชุดแรก หรือ American snare / Let is go ซึ่งแปลว่า แยกกันว่าย  คำต่อไปคือ  wash the film  ซึ่งแปลว่าไปล้างรูปที่คนไทยใช้กันและยังมีคำ adjective  ที่ใช้ผิดกันบ่อยมาก ก็คือ hot        are you  not  , you are not  แต่แท้จริงแล้วการถามว่า Is  it not ?  และอีกคำหนึ่งคือ  yummy  ซึ่งแปลว่า อร่อย แต่ อร่อยในทางที่ไม่ดี คำต่อไป คือ thin ซึ่งแปลว่า ผอมมาก แต่แท้จริงแล้วควรมี  skinny , slim , slender  และได้เรียนรู้คำศัพท์อีกมากมายที่ใช้กับคำศัพท์ คือ ซึ่งยี่ห้อของใช้หรือชื่อแบรนด์  เช่น คำว่า  Xerox  คำที่ถูกต้อง คือ  photocopy  ความหมาย คือ ถ่ายเอกสาร คำต่อไป  Moulinex  คำที่ถูกต้องคือ blender  ซึ่งความหมาย คือ เครื่องปั่นอาหาร และคำที่ทับศัพท์บ่อยมาก คือ Fab  คำที่ถูกต้องคือ instant   noodles และความหมายคือ  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งคำเหล่านั้นล้วนเป็นคำที่คนไทยใช้ติดปากตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันและทุกวันซึ่งยังคงมีทับศัพท์และมีประโยคที่ไว้ใช้ทักทายกันในห้องเรียนหรือไว้ใช้กันในการสนทนา คือ How have you been  และ  How are you  going  ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ สบายดีไหม   และสิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้ในช่วงบ่ายซึ่งเกี่ยวกับการเรียนและวิชาเรียน คือ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปล อาทิ เช่น look , now บางครั้งบริบทในการแปลไม่จำเป็นต้องแปลตรงตัวเสมอไป ซึ่งมีตัวอย่างสำนวนภาอังกฤษที่มักแปลตรงตัวแล้วผิด คือ  It’s daylight  robbery  ถ้าหากแปลตรงตัว คือ นี่คือ การปล้นตอนกลางวันแต่ถ้าแปลตามภาพยนตร์ คือ แนวสุดๆเลย (เหมือนถูกปล้น)  ตัวอย่างต่อไป คือ He’s cream of  the   crop  ถ้าหากแปลตรงตัว คือ ครีมของการเก็บเกี่ยว  และแปลตามภาพยนตร์ คือ หัวกะทิ  และคำสุดท้ายคือ  Are you straight?  แปลตรงตัว คือ คุณตรงหรือเปล่า แต่ถ้าแปลตามภาพยนตร์  คือ คุณไม่ได้เป็นเกย์ใช่ไหม  ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับวิชาการแปลของดิฉันในตอนนั้นด้วย คือ เวลาแปลนวนิยายบางครั้งดิฉันก็แปลต่อตัวจึงทำให้ความหายผิดเพี้ยนไปและนอกจากนี้ ท่านวิทยากรเสนอปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงคือ wifi  หรือ  internet กล่าวคือ ภาษาเปลี่ยนกับ internet  เพราะในสมัยนี้บุคคลจะใช้ internet เป็นการสื่อสารกันมากที่สุด เช่น คำว่า  R.I.P.  ที่ใช้กันบ่อยมากในโลกออนไลน์
                นอกจากรู้จักคำศัพท์ที่คนไทยใช้กันแบบผิดๆแล้วสำหรับในตอนบ่ายยังได้อบรมเนื้อหาซึ่งสอดคล้องกับวิชาเรียนอีกวิชาหนึ่ง คือ อวัยวะในการออกเสียง ซึ่งสอดคล้องกับ  phonetics   ที่ต้องใช้กับการออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้อง และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกเสียงสระทั้งสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวรวมไปถึงการประสมของเสียง  นอกจากนี้ยังได้การ shress คำศัพท์อีกด้วยได้ทั้งสอดคล้องกับวิชาที่เรียนและยังไปสอดคล้องกับการฝึกพัฒนาทักษะการสื่อสารอีกด้วย
                สำหรับการอบรมในช่วงวันพฤหัสบดีตอนบ่าย นอกจากจะได้ความรู้สาระแล้วสิ่งที่ได้เพิ่มเติมคือ เทคนิคในการสอนที่ทำให้เด็กผ่อนคลายและไม่เบื่อ คือ การเอาเกมส์มาให้เด็กเกิดความผ่อนคลายซึ่ง ดิฉันคิดว่า ในช่วงวันพฤหัสบดีตอนบ่ายถือว่าได้เยอะมาก สามารถนำไปประยุกต์กับตอนนั้นได้อย่างเต็มรูปแบบ
Learning log
(29th October, 2015 - 30th  October, 2015  )
"สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ"
                การเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากที่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝน  หรือต้องมีใจรักจึงจะเรียนภาษาอังกฤษได้ดี แต่การเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดียิ่งยากมากกว่าหลายเท่า แต่ถึงอย่างไรครูที่สอนภาษาก็มีเทคนิคและวิธีที่ทำให้ลูกศิษย์สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีจึงมีหลายวิธีหลายเทคนิคดังนี้
                สำหรับการอบรมในช่วงเช้าของวันศุกร์ ที่ 30  ตุลาคม  พ.. 2558  ท่านวิทยากร คือ ท่าน ผศ.ดร.ศิตา  เยี่ยมขั้นติถาวร  ได้อบรมเกี่ยวกับเรื่องวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่มาซึ่งเริ่มจากวิธีสอนแบบไวยากรณ์แบบ The  Grammar – Translator  Method  โดยในช่วงแรกได้เน้นการฟังและการพูด แต่เป็นการเรียนไวยากรณ์และการแปลและแปลจากภาษากรีกเป็นภาษาโรมันและมีวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านบทอ่านได้เข้าใจและแบบการท่องจำและวิธีการสอนแบบต่อไป คือ reading  Method  เป็นการอ่านแต่ไม่นิยมมากนักจึงเกิดวิธีสอนแบบตรง  The  Direct   Method  ซึ่งแนวคิดที่ว่า  ภาษา คือ ภาษพูด การเรียนภาษา คือ การให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียนนั้น กล่าวสั้นๆ คือ ทุกคนพูดได้  วิธีต่อไป  คือ วิธีสอนแบบ ฟัง พูด The  Audio  Lingual  Method  คือ การสอนภาษาถึงการเรียนภาษา เริ่มจาก การฟังพูด คือ ฟัง      70 %  ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การอ่านและการเขียน จึงมีวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย วิธีต่อไป คือ วิธีสอนแบบเขียน The  Silent Way  ซึ่งวิธีนี้เป็นความรู้ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนคิดเอง  ผู้สอนจะพูดน้อยที่สุดและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดมากที่สุด  ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดและต้องสอนจากเรื่องที่อ่าน วิธีต่อไป  คือ วิธีสอนตามแนวธรรมชาติ The  Natural  Approach เป็นแนวการสอนที่เลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเด็ก ต่อมาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์  วิธีต่อไป คือ  วิธีสอบแบบชักชวน  Suggestopedia  สำหรับวิธีนี้ คือ การให้ผู้เรียนผ่อนคลายที่สุด พูดเมื่อพร้อม เมื่อผู้เรียนอยากพูด  วิธีต่อไป คือ วิธีสอนแบบตอบ การสอนด้วยท่าทาง สำหรับวิธีนี้ คือ เน้นการฟังและให้ปฏิบัติตามคำสั่ง  วิธีต่อไป คือ  การเรียนรู้แบบร่วมมือ  Cooperative  Learning  จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ให้ผู้เรียน คิดแก้ปัญหาได้และคิดวิเคราะห์ได้  วิธีต่อไป คือ  การเรียนรู้แบบเน้นการอ่าน  Task – Based  Learning  เป็นการสอนที่ใช้ภาระงานเป็นหลัก โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้ search  engine  ให้มากที่สุด  ค้นคว้าด้วยตนเอง  ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด  วิธีต่อไป คือ  การเรียนรู้จากการทำโครงงาน  Project – Based  Learning โดยให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ผู้เรียนต้องการศึกษาแล้วดำเนินการศึกษา และนำเสนอผลงาน โดยการจัดโครงงานและการจัดนิทศการ  และวิธีต่อไป คือ  แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์เน้นที่ตัวผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนสร้างสถานการณ์หรือว่า การจัดแบบ role-play   ให้ผู้เรียนได้คิดและแสดง  วิธีต่อไป คือ แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร The Communicative  Approach หรือ  Communication  Language  Teaching มุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน จัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด  การอ่านจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำแล้วทำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง  วิธีต่อไป คือ การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ คือ ต้องมีจุดมุ่งหมาย นำเนื้อหามาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษาและต้องสอนเพื่อให้นำไปใช้ได้ไม่ใช่เพียงแค่การไปสอบ และสุดท้าย คือ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกลวิธีการเรียนรู้ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถามและกระบวนการแก้ปัญหาและนอกจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้หลักในการจัดการเรียนการสอน ในศตวรรษที่ 21 คือ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแม่ Buglish  ทักษะการอ่าน  Reading เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้ต่างๆมากมาย โดยเชื่อว่าการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆและทักษะในการใช้ภาษาอื่นและยังได้เกี่ยวกับปฎฺญญาว่าด้วยจัดการศึกษาของ UNBSCO  คือ Learmimg  to  know  ,  Learning   to  do  , Leaning  to  line  with the others , Learning  to be  และยังได้ต่ำกว่า การเรียนการสอนแบบที่เหมาะสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การให้คิด  ให้จด ให้จำ  ให้ทำความเข้าใจ และนอกจากจะได้ วิธีการเรียนแล้ว ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมทางการเรียนการให้สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การจัดห้องเรียนแบบ The  Plipped  Classroom  เป็นวิธีการจัดการเรียนสอนที่ไม่ได้ต้องการจะเรียนที่ต้อง เก่ง เรียนเก่ง แต่อยากได้บัณฑิตที่ใฝ่รู้และวิธีการเรียนรู้  ครูจึงต้องสอนแต่สิ่งที่สำคัญ  แล้วฝึกให้เด็กไปต่อยอดองค์ความรู้เองได้ เราจึง เปลี่ยนเป้าหมายจากครูเป็นนักเรียนเป็นหลัก และยังได้เรียนรู้ถึงต้นกำเนิดห้องเรียนกลับด้าน และยังได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างห้องเรียนเสมือนและห้องเรียนปกติและยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
                หลักจากที่ได้เข้าร่วมอบรมในช่วงวันศุกร์เช้าถือว่าได้เนื้อหาแน่นมาก  ดิฉันสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะเนื้อหาในช่วงเช้าถือว่าละเอียดมาก และสามารถนำไปใช้ได้จริง  เนื้อหาทุกอย่างล้วนแต่มีประโยชน์ ดิฉันคิดว่า ได้เข้าในช่วงเช้าถือว่าได้ความรู้ที่เหมาะกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่  21

Learning log
(29th October, 2015 - 30th  October, 2015  )
"สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ"

                การเรียนการสอนภาษาอังกฤษนอกจากจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ในตัวเนื้อหาแล้ว ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครู  ครูจะต้องหาแบบวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสภาพผู้เรียนและควรดูสภาพผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยแค่ไหนและการเรียนการสอนของครูจะต้องมีความน่าสนใจ
                สำหรับการเข้าอบรมในช่วงบ่ายของวันศุกร์ ที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558  ท่านวิทยาการ คือ ท่าน ผศ. ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยจัดการเรียนการสอนแบบกมส์หรือ กิจกรรม ซึ่งกิจกรรมแรก คือ การเล่น Tic   Tac  Toe  โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมเล่นกันทุกคนและเล่นกันจนเจอผู้ชนะผู้ชนะโดยผู้เล่นจะร้องว่า Leff   and  the  left , Rignt  and  the  right , Forward and baok word , And  tic  tac  toe  โดยเล่นกันทุกคนจนเจอผู้ชนะ  หลังจากกิจกรรม tic  tac  toe  เสร็จแล้ว ท่านวิทยากรมีกิจกรรมต่อไป คือ การส่งลูกบอลสลับกันทั่วห้องแล้วเปิดเพลงเมื่อเพลงหยุดลูกบอลตกอยู่ที่ใครผู้นั้นต้องออกไปข้างหน้าห้องและหลังจากนั้นมีผู้คิดประโยคนิทานขึ้นมา 1 ประโยคและคนที่มีลูกบอลจะต้องต่อนิทานคนละ 1 ประโยคและให้จบเป็นเรื่องเดียวกันและหลังจากนั้นให้แบ่งกันเป็นกลุ่มและสรุปนิทานโดยวาดรูปเหตุการณ์ลักและนิทานนอกกลุ่มๆละ 3 ประโยค ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้านทักษะ

                หลังจากที่ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทั้งสองวันดิฉันได้รู้สึกว่าคุ้มค่ามากที่ได้เข้าร่วมเพราะนอกจากจะได้ทั้งเนื้อหาความรู้ยังได้วิธีการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนและได้เล่นเกมส์ ได้กิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และดิฉันคิดว่าสามารถนำไปบูรณาการในอนาคตได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates