วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log Sixth: (15th September, 2015)

Learning Log
15th September , 2015
ครูในยุคอาเซียน

ครู คือ บุคลากรทางการศึกษาที่มีหน้าที่ให้การศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องคอยดูแลศิษย์ อยู่กับศิษย์กับผู้เรียน ครูคือผู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน ครูคือผู้ที่จะจุดดวงประทีปแก่ศิษย์ ชี้แนวทางสว่างพาศิษย์ออกสู่ความสำเร็จไม่ให้หลงอยู่ในทางมืดมัว ครูจะต้องมีหน้าที่ประคับประคองศิษย์ ประคับประคองผู้เรียนจากผู้ที่ไม่รู้ให้กลายเป็นผู้รู้ มีแต่คำกล่าวที่ว่าครูคือ แม่พิมพ์ของชาติ ครูเป็นผู้ที่ถ่ายทอด ถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดการดำเนินชีวิต ถ่ายทอดทั้งวิชาการทางโลกหรือจะถ่ายทอดทางการตัวเอารอดในสังคม หรือสรุปได้ง่ายๆหรือสั้นๆว่า ครู คือ ผู้ให้ ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ให้โดยไม่คิดหวังจะเอากลับ ให้โดยใจรัก ให้เพราะเต็มใจให้ ไม่ใช่ทำเพียงแค่หน้าที่เท่านั้น การจะเป็นครูที่ดีในอนาคตนั้น ควรจะทำด้วยความศรัทธา ทำด้วยความเคารพ ทำด้วยความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ทำด้วยความเป็นครูมืออาชีพ มิใช่ทำเพียงเพราะว่าเป็นแค่อาชีพครูเท่านั้นการจะเป็นครูที่เคารพและซื่อสัตย์ในหน้าที่นั้นมันต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมหลายๆอย่างกับการเป็นครูที่ดี ครูมืออาชีพ และเป็นครูที่ดีและเก่งในยุคศตวรรษที่ 21 และเตรียมตัวเป็นครูที่ดีที่จะเข้าสู่ยุคอาเซียนในเวลาอันใกล้นี้
ครูทุกคนมีความต้องการที่จะเป็นครูที่ดี แต่การจะเป็นครูที่ดีนั้นมันจะต้องมีองค์ประกอบหลายๆอย่างมาหลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเป็นครูที่ดีนั้นจะต้องเริ่มจากการมีความรักความศรัทธาในอาชีพอย่างแท้จริง พร้อมที่จะยอมรับและพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอในเมื่อครูมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองครูจะต้องยอมรับด้วยว่าในยุคปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนายุคสมัยไปก้าวไกลแล้ว ครูจะต้องรู้ตัวเองด้วยว่าตัวเองมีความพร้อมมีความเก่งและความทันสมัยไปถึงไหน หากครูมีการรู้จุดของตัวเองแล้วมีการยอมรับที่จะพัฒนาตัวเองและแก้ไขจุดบกพร่อง นอกจากนี้สิ่งที่ครูจะต้องมีคือความเมตตากรุณาต่อศิษย์จริงๆ  คือเมตตาอย่างแท้จริง ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่าการที่จะเป็นครูนั้นต้องรู้จักเป็นผู้ให้ ให้ด้วยใจอย่างแท้จริงให้แล้วไม่หวังสิ่งใดตอบแทนย้อนกลับ ให้ไปโดยไม่คิดหวังผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากศิษย์ ไม่มีการทวงคืน ไม่มีการทวงบุญคุณจากศิษย์ ให้เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ควรให้ ไม่ว่าจิตใจของครู ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร บ่อของความเมตตา กรุณา ในใจของครู ยังมั่นคง เต็มเปี่ยม พร้อมที่จะเผื่อแผ่ไหลหลั่ง เจือจุนลูกศิษย์ได้อยู่เสมอ ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนเสียสละไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาผลประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้งแต่ควรยึดถึงศิษย์เป็นที่ตั้ง ถึงแม้ว่าอาชีพครูจะเป็นอาชีพที่ทั้งหนักและเหนื่อยแค่ไหน แต่ครูนั้นจะต้องยึดมั่นในอุดมคติ และยึดความศรัทธาในตัวเองเป็นที่ตั้งอยู่เสมอๆ และปัจจัยหลักที่สำคัญในการเป็นครูที่ดีนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ ครูจะต้องแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์อยู่เสมอ ครูจะต้องไม่ลืมว่าตัวเองมีหน้าที่ทำให้ศิษย์มีความรู้ ทำให้ศิษย์เก่งเป็นคนดีที่พร้อมจะก้าวไปยืนในจุดที่มั่นคงของสังคม ในเมื่อครูเป็นผู้สอน เป็นผู้ให้แก่เด็กแล้ว ครูจะต้องเป็นแบบเป็นที่พึ่งหลักให้เด็กได้ยึดตามได้ การที่จะสอนคนอื่นให้เป็นคนดีคนเก่งนั้นครูจะต้องไม่ลืมตัวตัวเองด้วย ว่าถ้าครูเป็นอย่างไรเด็กจะเอาแบบนั้นจากครูไปปฏิบัติตา ดังนั้นครูจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องเป็นแบบที่ดีแก่เหล่าลูกศิษย์ ในเมื่อมีคุณลักษณะที่ดีกับการเป็นครูแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของครูคือ หน้าที่ในการสอน เมื่อครูเป็นแบบที่ดีได้แล้ว การเป็นครูที่ดีนั้นหน้าที่การสอนก็ถือว่าความสำคัญมากถึงมากที่สุด ดังนั้นในด้านการสอนครูจะต้องมีบทบาทในการทำหน้าที่ให้ดีด้วย
หน้าที่หลัก และหน้าที่โดยตรงที่สำคัญของครู คือ หน้าที่ในการถ่ายทอดโดยถ่ายทอดจากครูไปสู่ศิษย์หน้าที่ในการถ่ายทอดกล่าวได้สั้นๆคือ การสอน สอนในสิ่งที่ศิษย์ยังไม่รู้ ให้กลายเป็นผู้รู้ หรือจากที่รู้อยู่แล้วให้กลายเป็นรู้ยิ่งๆขึ้นไป โดยในการสอนนั้นครูแต่ละคนมีบทบาทในการสอนที่แตกต่างกันออกไป แต่ครูทุกคนมีจุดมั่งหมายเดียวกันนั่น ก็คือ เพื่อให้ศิษย์ได้ก้าวไปถึงยังฝั่งฝัน การเป็นครูที่ดีและเก่งในศตวรรษที่ 21นี้หรือจะเป็นครูยุคใหม่ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ครูจะต้องมีรูปแบบการสอนแบบบูรณาการกล่าวคือ ครูจะต้องมีการสอนทั้งแบบ Inductive learning และ ครูจะต้องมี Deductive learning ควบคู่กันไป การเรียนการสอนของครูและการควบคุมชั้นเรียนของครูจึงจะประสบความสำเร็จทั้งครูและนักเรียน ซึ่ง Inductive learning คือ วิธีการสอนโดยผู้สอนเสนอตัวอย่างหลายๆตัวอย่างให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ แล้วหาคำหรือคำจำกัดความ ซึ่งเป็นความคิดรวบยอดได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นรูปแบบ และความสามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้ สรุปได้ดังนี้ Inductive= Specific Examples or Activities----- Generalizations (or rule) และสำหรับ Inductive learning นั้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับภาษาไทยสามารถเทียบได้เท่ากับการอุปนัยคือต้องมีการปิดไว้ก่อนแต่จะค่อยๆทยอยออกมาทีละนิดจนมีการสรุปให้ในตอนท้าย  และสำหรับการสอนอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ Deductive learning คือ วิธีการสอนความคิดรวบยอดโดยให้คำจำกัดความ แล้วจึงยกตัวอย่างประกอบโดยที่ผู้สอนเป็นผู้ให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอดนั้น ส่วนตัวอย่างนั้นผู้สอน หรือผู้เรียนเป็นผู้คิด และเสนอตัวอย่างก็ได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้คือDeductive=Generalizations (or rule) -----Specific Examples or Activities และสำหรับDeductive learning นั้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับภาษาไทยคือ การนิรนัย คือการสอนหมดทุกอย่างแล้วให้ตัวอย่างทุกอย่างแก่ศิษย์ แต่ถ้าจะให้การสอนของครูประสบความสำเร็จอย่างดีที่สุดนั้นครูจะต้องนำมาบูรณาการกันแต่ว่าควรจะมีการสอนแบบ Inductive learningให้มากกว่าจะถือว่าประสบความสำเร็จอย่างที่สุดทั้งผู้เรียนและตัวครุผู้สอน

คำว่าครูนั้นหากมีการกล่าวออกไปทุกๆคนคงจะคิดว่าใครๆในโลกนี้ก็สามารถเป็นครูกันได้ การเป็นครูคงเป็นอาชีพที่เข้าเรียนและจบง่ายที่สุดในสาขางานราชการนั้นแต่จะมีใครสักกี่คนที่ล่วงรู้ว่าความเป็นจริงนั้นการเป็นครูนั้นแหละคืออาชีพที่ยาก ที่หนักที่สุด เพราะการเป็นครูที่ดีนั้นมันไม่ได้เป็นการได้ทุกคน การเป็นครูที่ดีนั้นมันจะต้องเกิดจากวิญญาณความเป็นครูที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพราะมาจากไม่มีอาชีพอะไรให้ประกอบแล้วเลือกครูเป็นทางเลือกสุดท้าย ดังนั้นควรเป็นครูมืออาชีพ มากกว่าที่จะเป็นครูเพียงแค่ อาชีพครูคือทำไปตามหน้าที่เพียงแค่นั้นไม่ได้ทำและเกิดมาจากความศรัทธา ดังนั้นการมีจิตวิญญาณความเป็นครูมันไม่ได้ง่ายนักหรอกมันต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะต้องประกอบควบคู่กันไปและจะต้องมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพด้วย มีความซื่อสัตย์ มีความรู้และนอกจากให้ความรู้ทางวิชาการแล้วครูจะต้องมีความรู้ทางด้านทักษะชีวิตที่สามารถให้ศิษย์นำไปใช้ในสังคมอันกว้างไกลได้ และครูจะต้องมีการพัฒนาตัวเองปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมอีกด้วยจึงจะเหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 และเป็นครูที่พร้อมเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนในเวลาอันใกล้ที่กำลังจะมาถึงจึงจะถือว่าเป็นครูที่สมบูรณ์แบบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates