วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log (Noun Clause) Eighth :( 6th October, 2015)

Learning Log
6th Seprember,2015
การเรียนการสอนไวยากรณ์ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญด้านหนึ่งของการเรียน การสอนภาษาต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการพฤติกรรมในชั้นเรียนของครูอาจารย์ที่ให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมากในส่วนของไวยากรณ์กับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศก็เช่นกัน เราจะต้องพิจารณาดูว่าปรากฏการณ์ทางไวยากรณ์ประเด็นใด ที่ผู้เรียนโดยทั่วไปควรจะสามารถผลิต ในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและโครงสร้างทางไวยากรณ์ใดที่มีบริบท การใช้จำกัดอยู่เฉพาะกรณีหรือแวดวงใดแวดวงหนึ่ง ผู้เรียนทั่วไปไม่จำเป็นต้องผลิตภาษาด้วยโครงสร้างนั้น ๆ ได้เอง เพียงแค่ให้สามารถรับรู้ แยกแยะแล้วทาความเข้าใจได้ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งในรายสัปดาห์นี้ดิฉันจึงได้ทำการศึกษาไวยากรณ์ในเรื่องของ noun clause
Noun Clauses (อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม)

Noun Clauses คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยค ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clauses โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clauses อยู่ เช่น
I think you’re very pretty.
I hope you pass the exam.
ประโยคเต็มที่เป็นทางการ คือ
I think that you’re very pretty.
I hope that you pass the exam.
Noun clauses เหล่านี้ เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า "Subject noun clauses" และเมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า "Object noun clauses" ดังตัวอย่าง
Subject Noun Clauses
That scores are going down is clear.
(มักใช้ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการ)
ที่ว่าคะแนนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
What he said confused us terribly.
สิ่งที่เขาพูดทำให้พวกเราสับสนมาก 
Object Noun Clauses
I feel that you overestimated the damages.
ผมรู้สึกว่าคุณประมาณการความเสียหายเกินความเป็นจริง
I don’t know where she is.
ผมไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน

ประเภทของ Object Noun Clauses
Object Noun Clauses จะต้องอยู่คู่กับ Main Clause ของประโยคเสมอ โดยประโยคจะเริ่มด้วย Main Clause แล้วตามด้วย Object Noun clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่น Object noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่
1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "that"
2. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย "Wh-Words" (หรือ Question Words)
3. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "if" หรือ "whether"
1. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "That"
เราใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that ในกรณีต่อไปนี้
1. ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand
เช่น I agree that we should follow him.
She knows that her mom loves her.
2. ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause
เช่น I think that it’s red, not blue. (ภาษาทางการ)
I think it’s red, not blue. (ภาษาพูด)
3. Verbs ใน main clauses มักจะเป็น present tense แต่ verbs ใน noun clauses จะเป็น tense อะไรก็ได้
 เช่น I believe it’s raining. (now)
I believe it’ll rain. (very soon)
I believe it rained. (a moment ago)
4. ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้
 เช่น Surat: Is Surawee here today?
Dendao: I think so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Surawee is here today.)
 Dares: Has the rain stopped?
Sompet: I don’t believe so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I don’t believe that the rain has stopped.)
Joom: Are we ready to leave?
Paa: I’m afraid not.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I’m afraid that we are not ready to leave.)
การละ that ในประโยค Noun Clause
That ที่นำหน้า noun clause ที่ทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถจะละได้ในกรณีต่อไปนี้
                  กรณีที่ noun clause เป็น object
We believe (that) he told the truth.
The police assured us (that) the children would be found safe and sound.
I wish (that) I would win the first prize.
                 กรณีที่ noun clause เป็น subject complement
The reason is (that) he speaks English fluently.
My opinion is (that) you’d better stay home.
                ตามหลังคำคุณศัพท์   
I am sure (that) he can get a good job.
They are afraid (that) they cannot catch the 6 o’clock  train.
ข้อยกเว้น: แต่ก็มีบางกรณีที่เราไม่สามารถละ That ได้นะคะ อาทิ เช่น
เมื่อ that-clause ขึ้นต้นประโยค
That coffee grows in Brazil is true.
ที่ว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิลนั้นเป็นความจริง
That she had decided to be engaged frightened me very much.
ที่ว่าหล่อนได้ตัดสินใจที่จะรับหมั้นนั้นทำให้ผมตกใจมากๆ
เมื่อ that-clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน (Appositive)
The news that he was murderer is not true.
ข่าวว่าที่เขาเป็นฆาตกรนั้นไม่เป็นความจริงเลย
His belief that the earth moves round the sun is correct.
ความเชื่อของเขาที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้นถูกต้อง
เมื่อ that-clause อยู่หลัง It is (หรือ It was)
It is true that earth moves round the sun.
เป็นความจริงที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
It is impossible that he has done this by himself.
เป็นไปไม่ได้ที่ว่าเขาได้ทำสิ่งนี้ด้วยตนเอง
 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ that   
appositive noun clause  จะนำหน้าด้วย that เท่านั้นและไม่มีการละ that 
 The news that she won the beauty contest was published in all of the daily   newspapers.
  noun clause  ที่นำหน้าด้วย that ที่ใช้ตามหลังคำบุพบทมีเป็นจำนวนน้อย         
โดยที่คำบุพบทที่จะตามด้วย “that” clause  มักตามหลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาที่แสดง
ความเหมือนกันหรือต่างกัน   เช่น   similar, alike, different, differ
                            John and his brother are alike in that they enjoy folk music . 
                            The two girls
 differed in that one was quiet while the other was talkative .
                 noun clause  ที่นำหน้าด้วย that  ไม่สามารถใช้เป็นกรรมรองหรือส่วนเสริมกรรมได้
                 that ที่นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่ประธานของประโยค สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
                     โดยใช้   impersonal pronoun “ it” นำหน้าประโยค   แล้วนำ noun clause  ไปไว้ท้ายประโยคได้  
                             That he showed up at the party was a great surprise.
                            It was a great surprise that he showed up at the party .
2. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (ได้แก่คำว่า what where when why how) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clauses เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม
เช่น I know why he comes home very late.
(ไม่ใช่ why does he come home very late)
I don’t know when he will arrive.
(ไม่ใช่ when will he arrive)
2. การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค
เช่น Could you tell me where the elevators are?
(Main clause เป็นคำถาม)
I’m wondering where the elevators are.
(Main clause เป็นบอกเล่า)
3. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ
เช่น I don’t know how much it costs.
I would like to know when our next meeting will be.
I’m not sure which house is his.
4. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ
เช่น Could you tell me who are injured in the accident?
Can you tell me what time the show starts?
3. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง
เช่น Direct Question: Did they pass the exam?
Indirect Question: I don’t know if they passed the exam.
(ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือ noun clause ที่ขึ้นต้นด้ว if นั่นเอง)
2. ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words 
3. จะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ
เช่น Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
Tell me if you want to go with us or not.
4. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง
เช่น I can’t remember if I had already paid him.
I wonder whether he will arrive in time. 
5. ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ
เช่น Do you know if the principal is in his office.
Can you tell me whether the tickets include drinks?
                ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าปรากฏการณ์ทางไวยากรณ์บางประเด็นนั้น ผู้เรียนภาษาต่างประเทศไม่จำเป็นต้องสามารถสร้างหรือผลิตโครงสร้างนั้น ๆ ได้เอง แต่ต้องสามารถรับรู้ วิเคราะห์และแยกแยะเพื่อทาความเข้าใจตัวบทและโครงสร้างที่ต้องการเน้นได้ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษาและสอดแทรกข้อมูลเพิ่มเติมก็เป็นแนวทางในการศึกษาไวยากรณ์เพิ่มเติมให้เข้าใจและใช้กันได้ในอนาคตข้างหน้า




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

การแปล Template by Ipietoon Cute Blog Design and Homestay Bukit Gambang

Blogger Templates